History

01

           Changton National Museum, as the Royal Elephant  National  Museum locate in Dusit Palace area, U-Thong Nai Road. Indoor exhibits include the presentation of a story related to the The Royal Elephant that refer to the important elephants which have been enrolled into the Royal Elephant of the king cause in Thailand and Asia Southeast considered auspicious Elephant with special features will bring great glory to the land. Result in country is rich in cereals and foodstuffs, citizens will have peace. So a couple animals criticizes the monarch. Location History was the Royal Elephant Hospital in Dusit Palace that His Majesty King Chulalongorn had graciously to build the the Royal Elephant conferred to Phra Swet Udomwarn after the ceremonies to lived between 1906 to falling in 1906

           In the reign of King Rama VI had White elephant to glory which  Phraya Phetpilai Sriswadhi caught to offering So ordered the royal ceremonies classified at Royal County at Migsagawan garden, conferred name that Phra Swet Vajirapaha raciously pleased gave living in this the Royal Elephant Hospital and falling in 1945.

           In the reign of King Rama VII had White elephant to glory, had graciously pleased classified for royal ceremonies , conferred name that Phra Swet Kachadech Dilok, thus built one hospital to be with Phra Swet Vajirapaha’s  hospital. When Phra Swet Kachadech Dilok was falling, both of hospital was vacant till the reign of His Majesty King Bhumibol Adulyadej. In 1959 there was white elephant to glory. So he graciously pleased the restored  the Royal Elephant Hospital that Phra Swet Vajirapaha lived to temporarily place for Royal ceremonies of first white elephant in his reign, conferred name that Phra Swet Adulyadech Paha. Then he graciously pleased to build up the Royal Elephant Hospital  in  Private Chitralada Palace So that The Royal Elephant Hospital in the palace grounds, near the residence. During the construction of the Royal Elephant hospital, that temporally take Phra Swet Adulyadech Paha to Kao Din Wana Zoo, so finish buiding that take to Private Chitralada Palace. The Royal Elephant Hospital in Dusit Palace dilapidated down with time.

           Due to Ananta Samakhom Throne Hall as a Parliament since 1932 dating to 1974. When governor built new parliament building behind Ananta Samakhom Throne Hall. Parliament saw that the building of Royal Elephant Hospital was dilapidated, therefore seek approval from the Bureau of Royal Palace to  dismantle the building out of parliament area. The Bureau of Royal Palace jointly consult with the Department of Fine Arts considers that the Royal Elephant Hospital was national heritage. Especially building has architectural significance, history, culture and tradition about white elephant which remains the only one in Thailand. Therefore process of obtaining a conservation treatment of historical evidence. and customary, announces registered historic places on March 28, 1974.

           Education Ministry declared as the National Museum by name “Changton National Museum.” In 1992, Open to visit unofficially on the occasion of Her Majesty Queen Sirikit was attained the age of 60 years.

            The building of Royal Elephant was Thai architecture, masonsy and cement. Thai building wide 12.50 meters, long 15 meters, there are gateways on the front and rear, small doors for elephant caretaker, 17 windows around building. In the building has Ben Phard platform for standing of elephant. The appearance of Ben Phard platform include with 2 Talung poles , the top of pole has shaped ornamental knob and a small round pole across between 2 Talung poles. Each Talung pole was buried half of the stem length cause wanted to resist the strength of elephant. Talung pole at side of elephant head was higher than the side of rear. The distance between the poles was depending on the length of an elephant  torso. The elephant head can turn to any direction  except  the south-west, which is considered inauspicious. Across of all Talung poles had Mor pole for tethering leg and Mor pole outside the platform for tie back leg when stand on  Ben Phard platform, the roof of Ben Phard platform was hanged the rectangle 5 layers tiered made from white cloth painted gold talisman, decorated with 2 layers  cloth in gold trimmed. There are the leaves believed that can prevent disaster as Leab leaves, Ngern leaves, Thong leaves, Pan-Ngu leaves, Ruk leaves, Maduor leaves, Utumporn leaves, Mango leaves, Thong Guaw leaves, Thakob leaves and Mathoom leaves.

ประวัติความเป็นมา

01

               พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้น  ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิตริมถนนอู่ทองใน  ภายในอาคารจัดแสดงมีการนำเสนอเรื่องราวอันเกี่ยวข้องกับช้างต้น  ซึ่งหมายถึงช้างสำคัญที่ได้รับการขึ้นระวางเป็นช้างหลวงส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์  ด้วยในสังคมไทยและสังคมเอเชีย อาคเนย์ถือว่าช้างที่มีคุณลักษณะพิเศษอันเป็นมงคลจะนำมาซึ่งพระบารมีอันเกริกไกรยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน  บ้านเมืองอุดมทั้งธัญญาหาร ภักษาหาร  และอาณาประชาราษฎร์จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข  จึงจัดเป็นสัตว์คู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ ประวัติสถานที่เดิม เป็นโรงช้างต้นในพระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงช้างต้น พระราชทานแก่ พระเศวตอุดมวารณ์ ยืนโรง  หลังจากได้ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระหว่างเมื่อ พ.ศ.2449 และล้มไปในปี พ.ศ.2452

              รัชกาลที่ 6 ในช่วงปีพ.ศ.2454 มีช้างเผือกมาสู่บารมี พระยาเพ็ชรพิไลยศรีสวัสดิ์ คล้องได้นำมาถวาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง ณ มณฑลพระราชพิธิที่สวนมิสกวัน พระราชทานนามว่า พระเศวตวชิรพาหฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยืนโรง อยู่ที่โรงช้างต้นแห่งนี้ และล้มไปในปี พ.ศ. 2488

             รัชกาลที่ 7 ในช่วงปี พ.ศ. 2470 ได้มีช้างเผือกมาสู่พระบารมี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวาง  พระราชทานนามว่า พระเศวตคชเดชดิลกฯ จึงได้จัดสร้างโรงช้างต้นขึ้นอีกโรงหนึ่งคู่กับโรงช้างต้น พระเศวตวชิรพาหฯ ต่อเมื่อ พระเศวตวชิรพาหฯ และ พระเศวตคชเดชดิลกฯ ล้มไปแล้ว โรงช้างต้นทั้งสองจึงได้ว่างลงตราบจนกระทั่ง ถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้นถึง พ.ศ. 2502  ได้มีช้างเผือกมาสู่พระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์โรงช้างต้นซึ่งพระเศวตวชิรพาหฯ เคยยืนโรงขึ้นเป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางช้างเผือกเชือกแรกในรัชกาลโปรดพระราชทานนามว่า พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ  ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงช้างต้นขึ้นในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อให้โรงช้างต้นอยู่ในเขตพระราชฐานใกล้ที่ประทับ ระหว่างที่กำลังก่อสร้างโรงช้างต้นนั้น โปรดให้นำพระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ไปยืนโรงที่เขาดินวนาเป็นการชั่วคราว เมื่อโรงช้างสร้างเสร็จแล้ว จึงได้ไปยืนโรง ณ โรงช้างต้น ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน

             เนื่องจากพระที่นั่งอนันตสมาคมได้เป็นที่ทำการรัฐสภา ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 สืบมาจนถึง พ.ศ. 2517 เมื่อรัฐบาลสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ ด้านหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม รัฐสภาเห็นว่าอาคารโรงช้างต้นชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา  จึงขอความเห็นชอบสำนักพระราชวัง เพื่อรื้อโรงช้างต้นออกจากบริเวณรัฐสภา สำนักพระราชวังได้ร่วมกันปรึกษากับกรมศิลปากร พิจารณาเห็นว่าโรงช้างต้นเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะอาคารมีความสำคัญทางด้านสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีที่เกี่ยวกับช้างเผือก ซึ่งเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย จึงดำเนินการขออนุรักษ์รักษาไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์  และจารีตประเพณี  วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2517 ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน        

             วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2531 กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น ปี พ.ศ. 2535 ได้เปิดให้บริการเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์พระบรมราชินีนาถ  ทรงพระเจริญมายุครบ 60 พรรษา
 
             อาคารโรงช้างต้น เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย  ก่ออิฐถือปูน อาคารทรงไทยขนาดกว้าง 12.50 เมตร ยาว15 เมตร มีประตูเข้าออกด้านหน้า และด้านหลังมีประตูขนาดเล็กสำหรับผู้ดูแลช้าง หน้าต่างรอบอาคาร 17 บาน ภายในมีแท่น เบญพาด สำหรับช้างต้นยืนโรง ลักษณะแท่นเบญพาด ประกอบด้วยเสาตะลุง 2 ต้น ยอดเสาทำเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัน มีเสากลมขนาดเล็กพาดกลาง ระหว่างเสาตะลุงทั้งสอง  เสาตะลุงแต่ละต้นฝังดินครึ่งหนึ่งของความยาวลำต้น   เพราะต้องการความแข็งแรงเพื่อทานกำลังช้างได้  เสาตะลุงด้านหัวช้างจะอยู่สูงกว่าด้านท้ายช้าง  ระยะห่างระหว่างเสาตะลุงขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของลำตัวช้าง ส่วนหัวช้างจะหันไปทิศใดก็ได้ โดยยกเว้นทิศตะวันตกซึ่งถือว่าเป็นทิศอัปมงคล  ตรงข้ามเสาตะลุงทั้งสองต้น มีเสาหมอสำหรับตกปลอก (ผูกขา) และเสาหมอ นอกแท่นสำหรับตกปลอกขาหลัง  เมื่อเวลายืนแท่นเบญพาด ยกพื้นสูงพอประมาณ  เพดานตรงแท่นเบญพาดแขวนเบญจาสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยผ้าขาวลงยันต์เขียนเส้นทอง มีระบายสองชั้นขลิบทอง กลางเบญจาห้อยใบไม้กันภัยได้แก่ ใบเลียบ ใบเงิน ใบทอง ใบหญ้าพันงู  ใบรัก ใบมะเดื่อ ใบอุทุมพร ใบมะม่วง ใบทองกวาว ใบตะขบ ใบมะตูม

01

05

08