About us

EN 03

Jankasem Palace is located on the bank of Pasak River, or known as Khue Na Canal in the past in the northeast of Mueang Ayutthaya Island close to Hua Ror Market, Hua Ror Sub-district, Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Jankasem Palace or the front place was built in the reign of King Mahathammarachathirat around 1577, the purpose of which was to be the residence for King Naresuan during his office as Uparaja of Phitsanulok.
In addition, the palace used to be the residence for the important kings and Uparajas which were 8 individuals, namely:
- King Naresuan
- King Ekathotsarot
- Prince Suthat
- King Narai
- Khun Luang Sorasak (Phra Chao Suea)
- King Thai Sa
- King Borommakot
- Krom Phra Ratchawang Bovorn Maha Senapitak

After the second fall of Ayutthaya in 2310, the palace was abandoned. Until the reign of King Rama IV of Rattanakosi, Jankasem Palace was renovated and improved to be used as a residence when the king visited Phra Nakhon Si Ayutthaya. The name Jankasem Palace was granted by the king.
Later, King Chulalongkorn assigned Jankasem Palace to be Ayutthaya Office. Pimanrattaya Buildings which were a group of buildings in the middle of the palace were used as the offices.
When Phraya Boran Ratchathanin assumed his position as the intendant of Ayutthaya Office, he built an office building in the west to connect to the one in the south and moved the old office at Pimanrattaya Building to the new office building.

Architecture of Jankasem Palace
The present structures were mostly built in the reign of King Mongkut. Then, they had been used as the residence for the king and the office until the reign of King Rama VII. After that, buildings were repaired and renovated as follows.
The palace wall which is now a brick wall with battlements has one gate for each direction, which is 4 gates in total. Ayutthaya people said that Jankasem Palace originally had two walls like the royal palace.
Chaturamuk Pavilion King Chulalongkorn ordered to build this pavilion as twin pavilions. They were used as the stateroom for work and for residency.
Phiman Rattaya Palace is a group of buildings consisting of the left-wing and right-wing buildings, Phiman Rattaya Palace and a ceremonial pavilion. In 1899, King Chulalongkorn used these buildings as Ayutthaya Office.
Phisai Salaluck Building (Astronomy Tower) King Chulalongkorn graciously built this tower according to its original foundation since the reign of King Narai in order to be used to study astronomy.
Royal Stable a two-story brick building plastered with concrete located on the rim of the wall to the northwest.
Sua Pa Club Building was built during the reign of King Mongkut and is located by the wall to the west side.
Office Building or Interior Building was built when Phraya Boran Ratchathanin (Porn Dechakup) was in office as the lord lieutenant of Ayutthaya. It is a one-story building built along the wall to the east and the west.

Jankasem Palace, Ayutthata Museum
During Phraya Boran Ratchathanin (Porn Dechakup)’s office as the lord lieutenant of Ayutthaya, je studied and gathered a large amount of information about artifacts around Ayutthaya and neighboring areas and stored it at Jankasem Palace. Until 1902, Krom Phraya Damrong Rajanubhab suggested Phraya Boran Ratchathanin that he establish a museum called "Ancient Museum". In the initial phase, the royal stable was used as the place to store antiquities.
Later, on 23 February 1904, King Chulalongkorn ordered to move the artifacts from the royal stable to store and display at Chatuarmuk Pavilion and built a terrace along the building in the north and the east to display artifacts, stones and sculptures. The king also granted the name "Ayutthaya Museum".
In 1812, King Rama V went on a European trip. When he arrived in Hamburg in Germany, he sent a telegraph to Krom Phraya Damrong Rajanubhab saying that "The museum here is like Ayutthaya Museum". For this reason, “Ayutthaya Museum at that time became known by those who were interested in artifacts and national archeology.
 
EN 08

Jankasem Palace
Jankasem Palace is located on the bank of Pasak River, or known as Khue Na Canal in the past in the northeast of Mueang Ayutthaya Island close to Hua Ror Market, Hua Ror Sub-district, Phra Nakhon Si Ayutthaya District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. It was originally the Front Palace of Ayutthaya. According to the Chronicle of Ayutthaya, it was built in the reign of King Rama V in 1577, the purpose of which was to be the residence for King Naresuan who was, at that time, the regent of Phitsanulok. When he visited Ayutthaya, he usually had a lot of soldiers and followers and there was insufficient accommodation. Therefore, King Mahathammarachathirat, who was King Naresuan’s father, graciously ordered to build a “new palace” in the east of the royal palace. Then, when King Naresuan emigrated people from the north of Ayutthaya, he would stay at this palace. The northern people who were emigrated to reside in the area called Jan Palace according to Jan Palace in Phisanulok. When King Naresuan ascended the throne, he appointed Ekathotsarot to be the regent of Jan Palace. In 1605, the King also appointed Prince Suthat, his son, to be the regent of Jan Bovorn Palace. From the land of Somdet Phrachao Songtham to Somdet Phrachao Prasatthong, Jan Bovorn palace had not been visited by Uparaja for 46 years. Until the reign of Somdet Phra Sri Suthammaracha in 1656, he graciously appointed King Narai, his grandchild to be the regent of Jan Bovorn Palace. It was assumed that the name Jan Bovorn Palace was changed to Bovorn Sathan Mongkol Palace after King Narai ascended the throne. Later, during the reign of Somdet Phra Petaracha around 1688, he appointed Luang Sorasak, his son, to be the regent and called this title Krom Phra Rajawang Bovorn Sathan Mongkol. This name may come from the name of Bovorn Sathan Mongkol Palace where the regent resided. The royalties in the back palace called it Krom Phra Rajawang Bovorn Sathan Phimuk, and it was the name used throughout the Rattanakosin era. When Luang Sorasak (Phrachao Sua) ascended the throne in 1730, he graciously appointed Somdet Phrachao Taisa, his son, to be Krom Phra Rajawang Bovorn Sathan Mongkol and to stay at this Front Palace until he ascended the throne in 1732. Therefore, the Front Palace was under the rule of King Borommakot. After the coronation in the royal palace, King Borommakot had resided at the Front Palace for 14 years. In the meantime, he appointed Krom Khun Senaphitak (Prince Thammathibet) as Krom Phra Rajawang Bovorn Sathan Mongkol. Initially, he was assigned to stay at the royal palace. Until 1744, a fire broke out in the Front Palace, so the king graciously ordered to build a new royal palace and assigned Krom Phra Rajawang Bovorn Sathan Mongkol to stay at the Front Palace. He was the last regent to stay in the Front Palace after this reign. The Front Palace had been vacant until the second fall of Ayutthaya in 1767. After that this palace was abandoned, and there were only remains of brick building plastered with concrete like other archeological sites in Ayutthaya.
Time passed, and until the early Rattanakosin period Ayutthaya was restored and renovated, especially during the reign of King Rama IV since 1851 onward. Evidence from an important document was the Archives of the King Rama IV 1852 which mentioned Jankasem Palace for the first time when the king sent a letter to Phraya Boran of Ayutthaya, the subject of which was “Krom Phitak will raise fund for renovation of Jankasem Palace”. In the letter, it was stated that Jankasem at that time may have started its renovation by Phraya Mahasiritham, the governor of Ayutthaya who rebuild the palace wall around 1857. In the following year, the king went to see the renovation of Jankasem Palace, including that of Sena Sanaram Temple and Khamin Temple.
Later, in 1861, the King appointed Phra-ong Chao Chitchengpongkro to be chief to supervise the construction of the palace and pavilion. He ordered the construction to be completed in a timely manner. During the reign of King Rama IV, he graciously ordered to restore Jankasem Palace in order to be his residence when he visited Ayutthaya. The former name of the palace was called “Jan Bovorn Palace”, and the word “Bovorn” reminded the king of the Front Palace. After the palace was completed, the king granted a new name “Jankasem Palace” for the group of buildings and pavilions built during that time such as Jaturamuk Pavilion which was a wooden building built on the original foundation. Around the front gate in the north stood a group of Phimanrattaya buildings in the middle of the palace including Phisai Salaluck Tower (Astronomy Tower) in which the king used for stargazing, the theater, the kitchen and the royal stable.
The structures and palace buildings were assumed to be completed during the reign of King Rama V, especially Phimanrattaya buildings which were completed in 1895. After the administrative reform, 8 districts were combined into one province which consisted of Ayutthaya, Ang Thong, Saraburi, Lopburi, Phraputthabat, Promburi, Intaburi and Singburi, and the provincial office was established in Ayutthaya. In 1896, King Chulalongkorn ordered to renovate Jankasem Palace in order to appoint it as the provincial office. He graciously ordered Krom Khun Marupong Siripat to be the regent of Ayutthaya as appeared in the official letter of Ayutthaya numbered 1043057 dated 16 September Rattanakosin Era 117. The content in the letter is as follows:
"The museum here is like the one in Ayutthaya. I miss Phraya Boran, and I shall write a book about this museum." King Chulalongkorn sent those texts by telegraph from Hamburg, Germany, when he visited Europe for the second time in 1872, which showed his interest in the museum affairs. Ayutthaya Museum in Jankasem Palace was becoming popular because it was arranged to be a modern museum like the one in Europe.
After the establishment of Ayutthaya Hall in Jankasem Palace in 1896, Luang Anurak Phubet, the regent of Ayutthaya at that time, was also interested in history of archeology by habit. He was keen in researching and seeking knowledge from reading and exploring antiquities in Ayutthaya Province. It was said that he was an important guru of Ayutthaya and was also favored by King Chulalongkorn. In 1901, Luang Anurak was promoted to be “Phraya Boran Burarak”, Secretary of Ayutthaya. With his knowledge in archeology and history since he was Luang Anurak Phubet, he collected artifacts from various places from his exploration and stored a number of them in Jankasem Palace. Until the year 1902, Krom Phraya Damrongrachanupab, who was the chief official of the Ministry of Interior at that time, went up to see the antiquities and artifacts that Phraya Boran Burarak had collected and persuaded Phraya Boran Burarak to establish the place as the museum. The area at the royal stable was arranged into a collection and exhibition spot and was initially called "Ancient Museum".
Until 23 February 1904, King Chulalongkorn visited Ancient Museum in Jankasem Palace and wrote a note in the museum book “This museum houses more antiquities than expected, and they are well-arranged.” After that, the king graciously granted permission to transfer the objects from the royal stable to exhibit at Jaturamuk Pavilion. Some antiquities which were large stones and metals were supported by brick base and located inside the palace wall to the north and east. In addition, a terrace with galvanized-iron roof was built exhibition zone, and a museum in Phra Nakhon Si Ayutthaya was established under the name "Ayutthaya Museum".
In 1908, a telegraph was sent to Krom Phraya Damrong Rajanubhab. When Phraya Boran Ratchathanin found out, he was very pleased as if he were granted a reward for establishing the museum. The hand-written letter numbered 35 which King Chulalongkorn served to Princess Nibha Nobhadol, Princess of Uthong, who was his secretary at that time, talking about the museum in Hamburg as follows: "It is lovely how they keep various items from the excavation, like a torn basket with burns like the one Phraya Boran has in Ayutthaya. Phraya Boran must have been on the right path…”It showed that Phraya Boran Ratchathanin shared the same practice in terms of managing the museum in Ayutthaya.
Consequently, Ayutthaya Museum became an important place which always welcomed visitors It was because artifacts were displayed in groups and were not stored in a storeroom like those in the museum in Bangkok. Later on 12 February 1936, Fine Arts Department proclaimed Ayutthaya Museum as the national museum in the Royal Government Gazette. It was the first regional museum of Thailand where certain artifacts has been displayed up until today. Even during the establishment of the national museum, Chao Sam Phraya brought some items displayed at Jaturamuk Pavilion in Jankasem Palace to display there as well.
At present Jankasem Palace has the area of 14 Rais and 93 square meters. In the past, the area was much larger than it is today. There are the palace wall located in the north, Khun Saen Temple (Sua Temple) in the south and Phra Nakhon Si Ayutthaya shrine in the east. According to the Front Palace Legend book by Price Damrong Rajanubhab, it stated that “the Front Palace area was originally larger than this wall. Senaram Temple and Khamin Temple were in the palace area (during Ayutthaya era, the temples had no monk) because the remains of royal palace foundation, lotus pile and Rahatnam base were found in the aforesaid area in the excavation.”
According to Ayutthaya people who gave details about Jankasem Palace, they said “there were 2 walls like those in the royal palace. The outer wall was 3.5 meters tall, and there was a 1-meter-thick terrace for soldiers. The length of the wall was measured as 960 meters, and there were 6 large gates of 2 meters wide and 2 small gates, which are 8 gates in total. In front of Uparaja’s palace was a state room, and behind the state room were 3 buildings: one in the north, another in the south and the other in the east. The buildings in the east and the west have a 2-story roof, but the one in the south has a 3-story roof which was the residence of Uparaja. All the buildings were gilded, and the interior was painted in red. The building in the south is called Phimanrattaya Palace, and the ones in the west and the east are called Phra Prad where the throne was situated. In front of the palace are 3 mews, one storeroom, 3 elephant corrals and one pond.
In the reign of King Rama I and King Rama III ordered the brick wall to be demolished in order to bring the bricks to build a palace in Bangkok and a monastery in 1895. Phraya Chai Wichit Sithsak Mahanakrathikarn (Nak Na Pompetch), the regent of Ayutthaya at that time, demolished the wall around the city (U-thong Road at present). The new wall in Jankasem Palace today was the new one built in the reign of King Rama IV when he graciously renovated the palace and built a brick wall plastered with concrete, each side of which was 160 meters long with battlements on the wall. There are gates in 4 directions, each of which has 1 gate.
Most of the structures existing at present were built in the reign of King Rama IV and were later used as theresidence and the provincial office. Until the reign of King Rama VII, he ordered the buildings to be renovated.

about EN 01

Jaturamuk Pavilion is located near the wall in the northeast. It is a wooden building with a terrace built of bricks and plastered with concrete. King Rama IV ordered a new pavilion to be rebuilt on the same foundation to be used as the stateroom for work when he visited Phra Nakhon Si Ayutthaya. The features of Jaturamuk Pavilion includes 3 terraces in the front and 3 in the back roofed with tiles and tooth-like ridges (Chor Fah Bai Raka) on 6 terraces. There were originally different plaster statues with the royal emblem on the tympanum at 6 terraces which are:
In front of the middle       terrace stands a statue with the emblem of Maha-ongkarn
In front of the northern       terrace stands a statue with the emblem of Garuda
In front of the southern          terrace stands a statue with the emblem of Phiman Swan
Behind the middle       terrace stands a statue with the emblem of a dragon holding a crystal in its mouth
Behind the northern       terrace stands a statue with the emblem of 33-head Elephant
Behind the southern         terrace stands a statue with the emblem of Phiman Conch

King Chulalongkorn assigned Phraya Chai Wichit (Nak Na Pompetch) to renovate the pavilion in order to use it as Ayutthaya Hall in 1896. In 1904, the pavilion was used as the museum, and later in 1926, King Rama VII assigned Phraya Boran Ratchathanin to renovate it by the direction of the Royal Society. In this renovation, the pavilion was entirely demolished, and the ferroconcrete was laid on the same foundation. The pavilion structure was elevated 0.5 meter. The wall was built from the original wood, and the damaged statues on the tympanum were changed to carved wood patterns, which have existed up until today.

about EN 02

Phimanrattaya Palace consisted of a group of buildings in the middle of the royal palace. They were built in the reign of King Rama VI according to the original foundation, and they were assumed to be completed in the reign of King Rama V. The buildings embraced the European architecture applied for Thai utilization. The buildings were built of bricks plastered with concrete and roofed with tiles. The basement was tall, and bricks were used to divide the rooms. There are 2 small buildings in parallel called Prad Left and Prad Right (Prad Khang Si Khang). In 1896, the palace was used as Ayutthaya Office.

about EN 03

Sala Chern Krueang is located in the south of the Phimanrattaya Building Group. It embraced the European style and was roofed with tiles.

about EN 04

Phisai Salaluck Building is a 4-story tower with the size of 15.80 meters x 17.00 meters, the height of which is 22 meters tall. The building is located on the rim of the wall in the southeast. It was assumed to be built for the first time in the reign of King Narai and crumbled down before the second fall of Ayutthaya. King Rama IV ordered it to be rebuilt on the same foundation and granted it the name Phisai Salaluck Building in which he used to stargaze. Later, when the area in Jankasem Palace was used as Ayutthaya Office, the building became an observatory tower and was equipment with alarms.

about EN 05

The royal stable is a brick building plastered with concrete, the size of which is 6.00 meters x 17.00 meters. It is located on the rim of the wall in the northwest. The stable was built in the reign of King Rama IV. In the reign of King Rama V, Phraya Boran Ratchathanin used it as Ancient Museum.
The theater has the Panya-shaped roof and is located in front of Jaturamuk Pavilion. At present, the theater has been demolished.

about EN 06

Interior Building or Regional Building is an L-shaped building built of bricks plastered with concrete roofed with tiles. It is located near the palace wall in the west connected to the south. The building is 10.00 meters wide. The western side is 50.00 meters long, and the southern side is 65.00 meters long. It was built in the reign of King Rama VI when Phraya Boran Ratchathanin (Porn Dechakup) was the lord lieutenant of Ayutthaya Province. It was then used as the regional office until the administrative reform in 1932. After that, the building was used as the Provincial Prosecutor’s Office, Office of the Auditor General, Provincial Cooperative Office and Office of the Comptroller General District 1 until 1993. After that, the building was returned to the office of Jankasem National Museum.

about EN 07

Sua Pa Club Building is a one-story Panya-shaped brick building plastered with concrete roofed with tiles, the size of which is 11.20 meters x 20.00 meters. It is located in front of Phimanrattaya Palace and was built in the reign of King Mongkut and used for the assembly of Sue Pa group of Ayutthaya Province. Later, it became "Office of National Library"
Carved Stone Terrace was originally a terrace roofed with tiles lying along the palace wall from the north to the east. It was used to house antiquities and artifacts collected and gathered by Phraya Boran Ratchathanin.
In 1994, it was a pleasure that Jaturamuk Pavilion, Phisai Salaluck Building and Sua Pa Building received the award for excellent Thai architectural conservation from the Association of Siamese Architects conferred by Princess Maha Chakri Sirindhorn. It was an honor and pride of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province.

ประวัติความเป็นมา

TH 03

พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือ ที่เรียกว่า คูขื่อหน้า ในอดีตทางด้านทิศเหนือ มุมตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้กับตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลักฐานตามพระราชพงศาวดารสันนิษฐานได้ว่า พระราชวังจันทรเกษม หรือวังหน้า สร้างขึ้นในรัชสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา ประมาณ พุทธศักราช 2120 ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
นอกจากนี้ยังเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และพระมหาอุปราชที่สำคัญถึง 8 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเอกาทศรถ
- เจ้าฟ้าสุทัศน์
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ)
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
- สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
- กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พุทธศักราช 2310 พระราชวังจันทรเกษม ได้ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการบูรณะและปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษมขึ้นใหม่ เพื่อใช้สำหรับเป็นที่ประทับในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา และพระราชทานนามว่า พระราชวังจันทรเกษม
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระราชวังจันทรเกษม ให้เป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่า โดยใช้ พระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหมู่ตึกกลางของพระราชวังเป็นที่ทำการ
เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงวัง ด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยา มาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น

สถาปัตยกรรมพระราชวังจันทรเกษม
สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากนั้นจึงมีการใช้งานกันเรื่อยมา ทั้งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนกระทั่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงได้มีการซ่อมแซมและบูรณะอาคารต่าง ๆ ขึ้นนมาอีกครั้ง ดังนี้
กำแพงพระราชวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมาทับแนวบน มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน คำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวว่า แต่เดิมวังจันทรเกษมมีกำแพง 2 ชั้น เช่นเดียวกับวังหลวง
พลับพลาจัตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพลับพลาลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขแฝดใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการ และที่ประทับในเวลาเดียวกัน
พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง ประกอบด้วย อาคารปรัศว์ซ้าย อาคารปรัศว์ขวา พระที่นั่งพิมานรัตยา และศาลาเชิญเครื่อง พุทธศักราช 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานกลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยานี้ ให้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า
พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวรากฐานเดิม ที่มีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทรงใช้เป็นที่ศึกษาดาราศาสตร์
โรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ตั้งอยู่ริมกำแพง ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
อาคารสโมสรเสือป่า สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ตรงบริเวณกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันออก
ตึกที่ทำการภาค หรืออาคารมหาดไทย สร้างขึ้นเมื่อครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว สร้างขนานไปกับแนวกำแพงด้านทิศตะวันตกก่อกับทิศใต้

วังจันทรเกษม มิวเซียมที่กรุงเก่า
ในระหว่างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล มณฑลอยุธยา ท่านได้ทำการศึกษา และรวบรวมเรื่องราว รวมทั้งวัตถุสิ่งของสำคัญในบริเวณกรุงเก่า และบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นจำนวนมาก มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงแนะนำให้พระยาโบราณราชธานินทร์ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ เรียกว่า "โบราณพิพิธภัณฑ์" โดยในระยะแรกนั้นใช้ตึกโรงม้าพระที่นั่งเป็นที่เก็บรวบรวม
ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัตถุต่าง ๆ จากโรงม้าพระที่นั่งเข้ามาเก็บรักษาและตั้งแสดงที่บริเวณอาคารพลับพลาจัตุรมุข พร้อมทั้งจัดสร้างระเบียงตามแนวอาคารด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออก เพื่อจัดตั้งวัตถุ ศิลาจารึก และประติมากรรรมต่าง ๆ ตั้งชื่อว่า "อยุธยาพิพิธภัณฑ์"
พุทธศักราช 2415 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อเสด็จถึงเมืองฮอมเบิค ประเทศเยอรมนี ทรงมีโทรเลขถึงสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า "มิวเซียมที่นี่เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า" ด้วยเหตุนี้เอง "อยุธยาพิพิธภัณฑ์" ในขณะนั้น จึงเป็นที่รู้จักของบรรดาผู้สนใจ และรักในงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของชาติ
ต่อมา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2579 กรมศิลปากร ได้ประกาศให้อยุธยาพิพิธภัณฑ์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม"

TH 08

พระราชวังจันทรเกษม
พระราชวังจันทรเกษม ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำป่าสัก หรือที่เรียกว่า คูขื่อหน้าในอดีต ทางด้านทิศเหนือมุมทิศตะวันออกของเกาะเมืองอยุธยา ใกล้ตลาดหัวรอ ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน เดิมเป็นพระราชวังโบราณมีฐานะเป็นวังหน้าของกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อประมาณพุทธศักราช 2120 โดยมีพระราชประสงค์เพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นอุปราชประทับที่วังจันทน์ เมืองพิษณุโลก เมื่อเวลาเสด็จลงมาพระนครศรีอยุธยามักจะมีข้าราชบริวารและทหารติดตามลงมาเป็นจำนวนมาก ไม่มีที่ประทับพักแรมเป็นการเฉพาะ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช พระราชบิดา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “วังใหม่” ขึ้นทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงอพยพผู้คนจากหัวเมืองเหนือลงมาอยุธยา พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่วังใหม่นี้ ชาวเหนือที่อพยพลงมาพักเรียกวังใหม่นี้ว่า วังจันทน์ ตามชื่อ วังจันทน์ ที่พิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จฯ ขึ้นเสวยราชสมบัติแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นอุปราชประทับที่วังจันทน์ เรียกว่า วังจันทน์บวร ครั้งสมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2148 โปรดเกล้าฯให้เจ้าฟ้าสุทัศน์พระราชโอรถดำรงตำแหน่ง อุปราชประทับที่วังจันทน์บวร เช่นกัน  จากแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง วังจันทน์บวรว่างเว้นจากการประทับของพระมหาอุปราชราว 46 ปี กระทั่งสมัยสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พุทธศักราช 2199 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชนัดดาเป็นอุปราช ประทับ ณ วังจันทน์บวร สันนิษฐานว่า ชื่อวังจันทน์บวรคงจะได้มาเปลี่ยนเป็น พระราชวังบวรสถานมงคลหลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเด็จขึ้นครองราชย์ เนื่องจากสมัยต่อมา คือ รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ราวปีพุทธศักราช 2231 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หลวงสรศักดิ์ พระราชโอรถเป็นอุปราชและให้เรียกตำแหน่งนี้ว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งตำแหน่งนี้คงจะมาจากชื่อของ พระราชวังบวรสถานมงคล อันเป็นที่ประทับของอุปราชนั่นเอง ส่วนเจ้านายที่สังกัดวังหลังเรียกว่า กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และคงจะเป็นแบบอย่างกันมาจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อหลวงสรศักดิ์(พระเจ้าเสือ) เสด็จขึ้นครองราชย์พุทธศักราช 2246 โปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ พระราชโอรส ดำรงตำแหน่ง กระพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับที่วังหน้าแห่งนี้ กระทั่งพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2275 วังหน้าจึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ หลังจากที่ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกในพระราชวังหลวงแล้วก็ยังทรงประทับที่วังหน้าเป็นเวลา 14 ปี ในเวลาเดียวกันนี้ก็ทรงโปรดให้แต่งตั้ง กรมขุนเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ) เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในระยะแรก ทรงโปรดให้ประทับ ณ วังหลวง กระทั่ง พุทธศักราช 2287 เกิดเพลิงไหม้วังหน้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์เสด็จมาประทับที่วังหน้า ซึ่งนับเป็นอุปราชองค์สุดท้ายที่ประทับ ณ วังหน้าแห่งนี้ หลังจากรัชกาลของพระองค์แล้ว วังหน้าก็ว่างมากระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พุทธศักราช 2310 หลังจากนั้น พระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างเหลือแต่ซากอาคาร ก่ออิฐถือปูน เช่นเดียวกับโบราณสถานอื่น ๆ ของกรุงศรีอยุธยา
ระยะเวลาได้ผ่านไปจนกระทั่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงได้เริ่มมีการฟื้นฟูและบูรณะกรุงเก่าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นับตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2394 เป็นต้นมา หลักฐานจากเอกสารที่สำคัญคือ จดหมายเหตุรัชการที่ 4 จุลศักราช 1219 (พุทธศักราช 2395) ได้เริ่มกล่าวถึงพระราชวังจันทรเกษมเป็นครั้งแรก เมื่อพระองค์ทรงมีสารตราไปถึงพระยาโบราณกรุงเก่า เรื่อง “กรมพิทักษ์จะเสด็จขึ้นทอดพระกฐินให้เร่งมีการซ่อมแซมพระที่นั่งจันทรเกษม” กล่าวได้ว่า พระราชวังจันทรเกษมในเวลานั้นคงได้เริ่มมีการฟื้นฟูและบูรณะขึ้นมาใหม่โดยให้เจ้าพระยามหาสิริธรรมเจ้าเมืองกรุงเก่าในเวลานั้นเป็นผู้ดูแลเริ่มจากการสร้างกำแพงพระราชวังในราวปีพุทธศักราช 2400 และในปีต่อมา พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรการบูรณะพระราชวังจันทรเกษม รวมทั้งวัดเสนาสนารามและวัดขมิ้น
หลังจากนั้นในปีพุทธศักราช 2404 พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าชิตเชิงพงษ์เคราะห์เป็นแม่กองในการดูแลการก่อสร้าง พระตำหนักและพลับพลาที่ประทับ โดยได้ทรงเร่งรัดให้ก่อสร้างแล้วเสร็จโดยเร็ว ในการที่รัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ฟื้นฟู บูรณะพระราชวังจันเกษมขึ้นใหม่นี้ เพื่อใช้เป็นที่ประทับในเวลาที่เสด็จประพาสกรุงเก่า และชื่อของพระราชวังนั้น เดิมเรียกว่า “วังจันทน์บวร” คำว่า “บวร” นั้นทำให้นึกถึงวังหน้า เมื่อจะสถาปนาให้เป็นที่ประทับแล้ว จึงโปรดพระราชทานนามใหม่โดยเติมสร้อยข้างท้ายว่า “วังจันทรเกษม” สำหรับหมู่อาคารและพลับพลาที่สร้างขึ้นในเวลานั้น คงได้แก่พลับพลาจตุรมุขซึ่งเป็นอาคารเครื่องไม้ที่สร้างขึ้นบนฐานพระที่นั่งองค์เดิม บริเวณประตูด้านทิศเหนือ หมู่อาคารพระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งมีลักษณะเป็นหมู่ตึกกลางพระราชวัง หอพิสัยศัลลักษณ์ (หอส่องกล้อง) ใช้สำหรับทอดพระเนตรดวงดาวโรงละคร ห้องเครื่อง และตึกโรงม้าพระที่นั่ง เป็นต้น
สิ่งก่อสร้างและองค์พระที่นั่งต่าง ๆ นั้น สันนิษฐานว่าบางส่วนคงมาแล้วเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะกลุ่มอาคารพระที่นั่งพิมานรัตยา ในปีพุทธศักราช 2438 ภายหลังจากที่มีการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลกรุงเก่าขึ้น โดยรวมหัวเมือง 8 เมือง เข้าอยู่ในมณฑล คือ เมืองกรุงเก่า เมืองอ่างทอง เมืองสระบุรี เมืองลพบุรี เมืองพระพุทธบาท เมืองพรหมบุรี เมืองอินทร์บุรี และเมืองสิงห์บุรี โดยให้มีที่ว่าการมณฑลอยู่ที่มณฑลกรุงเก่า ในปีพุทธศักราช 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้ปรับปรุงพระราชวังจันทรเกษม เพื่อพระราชทานให้สำหรับเป็นที่ว่าการมณฑลในเวลานั้น โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าในขณะนั้น เป็นผู้ดูแลจัดการ ดังปรากฏความในจดหมายราชการมณฑลกรุงเก่าเลขที่ 1043057 ลงวันที่ 16 กันยายน รศ. 117 ความว่า
"มิวเซียมที่นี่ เหมือนมิวเซียมที่กรุงเก่า ออกคิดถึงพระยาโบราณ ฉันจะแต่งหนังสือมิวเซียมนี้” ข้อความดังกล่าว เป็นความในสำเนาพระราชโทรเลข ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงส่งมาจากเมืองฮอมเบิค (HAMBURG) ประเทศเยอรมัน เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปีพุทธศักราช 2451 แสดงให้เห็นถึงความสนพระทัย ในกิจการพิพิธภัณฑสถาน ซึ่งกำลังก่อร่างสร้างตัวอยู่ในเวลานั้น อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ อยุธยาพิพิธภัณฑ์ ในพระราชวังจันทรเกษมขณะนั้นกำลังเป็นที่นิยมเพราะมีการจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ เช่นเดียวกับยุโรป
ภายหลังจากที่มีการจัดตั้งศาลาว่าการมณฑลกรุงเก่า ภายในพระราชวังจันทรเกษมในปีพุทธศักราช 2439 แล้ว หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ข้าหลวงมหาดไทยในมณฑลกรุงเก่าขณะนั้น ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีความสนใจและศึกษาในงานประวัติศาสตร์โบราณคดีโดยนิสัย ท่านเป็นผู้ที่ชอบค้นคว้าและเสาะหาความรู้ทั้งจากการอ่านและการสำรวจโบราณวัตถุสถานในบริเวณมณฑลกรุงเก่า กล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้รู้ที่สำคัญคนหนึ่งของมณฑลกรุงเก่า และยังเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช 2444 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็น “พระยาโบราณบุรารักษ์” ปลัดมณฑลเทศาภิบาล มณฑลกรุงเก่า และด้วยความเป็นผู้ที่สะสมความรู้ในวิชาโบราณคดีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ท่านจึงได้รวบรวมบรรดาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้จากที่ต่าง ๆ จากการตรวจตราวัตถุเหล่านี้ มาเก็บรักษาไว้ที่พระราชวังจันทรเกษม เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2445 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงมหาดไทยในเวลานั้นได้เสด็จขึ้นไปทอดพระเนตรบรรดาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์ได้รวบรวมไว้ จึงได้ชักชวนให้พระยาโบราณราชธานินทร์จัดตั้งขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยใช้พื้นที่บริเวณโรงม้าพระที่นั่งเป็นสถานที่เก็บรวบรวมและจัดแสดงในระยะแรกเรียกว่า “โบราณพิพิธภัณฑ์”
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2447 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณพิพิธภัณฑ์ ที่พระราชวังจันทรเกษม และได้ทรงลงบันทึกไว้ในสมุดพิพิธภัณฑ์ ที่พระราชวังจันทรเกษม และได้ทรงลงบันทึกไว้ในสมุดพิพิธภัณฑ์ไว้ว่า “เก็บรวบรวมได้มากเกินคาดหมายและจัดเรียบเรียงดี” จากนั้นจึงได้มีพระราชดำริโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ย้ายวัตถุต่าง ๆ จากโรงม้าพระที่นั่งมาจัดตั้งแสดงไว้ ณ พลับพลาจตุรมุข โบราณวัตถุอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นศิลาและโลหะขนาดใหญ่ได้ก่อฐานอิฐและจัดตั้งไว้ภายในกำแพงวัง ทางด้านเหนือไปทางตะวันออก และทำเป็นระเบียงมุงสังกะสีตามไปตลอดแนว จัดขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานในพระนครศรีอยุธยา เรียกว่า “อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน”
ในปีพุทธศักราช 2451 ความในสำเนาพระราชโทรเลข ดังข้างต้นได้มีมาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อความทราบถึงพระยาโบราณราชธานินทร์ก็ทำให้ท่านมีความปลาบปลื้มเสมือนหนึ่งได้รับพระราชทานรางวัลจากการจัดพิพิธภัณฑ์ในครั้งนั้น ความในพระราชหัตถเลขา ฉบับที่ 35 ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีมาถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี ราชเลขาธิการฝ่ายในพระองค์เวลานั้น ได้กล่าวถึงมิวเซียมที่เมืองฮอมเบิคไว้ว่า น่ารักในวิธีที่เขาเก็บของ สารพัด อะไรที่ขุดไว้กันไว้เป็นพวกมีจนกระทั่งกระบุงขาด รอยไฟไหม้ อย่างเช่น พระยาโบราณมีที่กรุงเก่า นับว่าพระยาโบราณเดินทางถูกต้องแท้...” นับเป็นแนวทางเดียวกับที่พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้จัดไว้กับพิพิธภัณฑ์ของท่านที่กรุงเก่า
ดังนั้นอยุธยาพิพิธภัณฑสถานจึงกลายเป็นสถานที่สำคัญ ที่มีทั้งแขกบ้าน แขกเมือง ขึ้นไปเที่ยวชมอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะมีการจัดเรื่องราวของวัตถุ เป็นกลุ่มเป็นพวก แทนที่จะเป็นแบบคลังเก็บของอย่างที่พิพิธภัณฑสถาน ในกรุงเทพฯ จากนั้นมาในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2479 กรมศิลปากร จึงได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในนาม “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม” จึงอาจ กล่าวได้ว่าอยุธยาพิพิธภัณฑสถานหรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โบราณวัตถุศิลปวัตถุบางชิ้นยังได้นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร จนกระทั่งทุกวันนี้ หรือแม้แต่ในคราวที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ในปีพุทธศักราช 2504 ก็ได้นำโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่จัดแสดงอยู่ในพลับพลาจตุรมุข พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม ไปจัดแสดงด้วยเช่นกัน
พระราชวังจันทรเกษมในปัจจุบันมีเนื้อที่ 14 ไร่ 93 ตรม. แต่ในอดีตนั้นอาณาเขตของพระราชวังจันทรเกษมมีเนื้อที่กว้างขวางกว่าเดิมในปัจจุบันมาก ทิศเหนือ คือ ด้านหน้าจรดกำแพงเมือง ทิศตะวันตกถึงวัดขุนแสน ทิศใต้ถึงวันเสนาสนาราม (วัดเสื่อ) ทิศตะวันออกถึงบริเวณที่ตั้งศาลพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน ในหนังสือตำนานวังหน้าของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพยังได้กล่าวไว้ว่า “เขตวังหน้า เดิมกว้างกว่าแนวกำแพงนี้มาก วัดเสนาสนาราม วัดขมิ้น 2 วัด อยู่ในเขตวัง (ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์) เพราะได้เคยขุดค้นพบรากฐานพระราชมณเฑียร บัวหัวเสา บัวโคนเสาและฐานระหัดน้ำได้ ตามบริเวณที่กล่าวมาแล้วหลายแห่ง”
ในคำให้การของชาวกรุงเก่า กล่าวถึงพระราชวังจันทรเกษมไว้ว่า “มีกำแพง 2 ชั้นเหมือนวังหลวง กำแพงชั้นนอกสูง 7 ศอก (3.5 เมตร) มีชานสำหรับพลทหารประจำหน้าที่ หนา 2 ศอก (1 เมตร) วัดแนวกำแพงโดยรอบได้ 24 เส้น (960 เมตร) มีประตูใหญ่ขนาดกว้าง 4 ศอก (2 เมตร) 6 ประตู ประตูน้อย 2 ประตู รวม 8 ประตู ส่วนพระราชมณเฑียรของพระมหาอุปราชนั้น ข้างหน้า มีท้องพระโรงสำหรับเป็นที่เฝ้าหลังหนึ่ง (ต่อท้องพระโรงเข้าไป) มีพระวิมาน 3 หลัง อยู่ทางทิศเหนือหลังหนึ่ง ทิศใต้หลังหนึ่ง ทิศตะวันออกหลังหนึ่ง หลังตะวันออก ตะวันตก ยาวตามเหนือไปใต้ อีกหลังหนึ่งนั้นยามตะวันออกไปตะวันตก หลังตะวันออกตะวันตก 2 หลัง หลังคาทำเป็น 2 ชั้น แต่หลังใต้นั้นหลังคาทำเป็น 2 ชั้น หลังคาทำเป็น 3 ชั้น ที่ประทับพระมหาอุปราชทุกหลังนี้สลักปิดทอง แต่ภายในทาแดง ตำหนักหลังใต้ เรียกว่า พระที่นั่งพิมานรัตยา หลังตะวันตก ตะวันออก เรียกพระปรัศว์ ตั้งราชบัลลังก์ที่พระที่นั่งพิมานรัตยาที่ชลาข้างหน้ามีทิมพัก 3 หลัง มีคลังหลังหนึ่ง โรงช้าง 3 หลัง โรงม้า 3 หลัง สระน้ำ สระหนึ่ง”
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงอิฐลงมาสร้างพระนครที่กรุงเทพฯ และสร้างพระอารามเป็นอันมาก ในปีพุทธศักราช 2438 พระยาชัยวิชิตสิทธิศักดิ์มหานัคราธิการ (นาก ณ ป้อมเพชร) ผู้รักษา กรุงเก่าขณะนั้น ได้เกลื่อนกำแพงลงเป็นแนวถนนรอบเกาะเมือง (ถนนอู่ทองในปัจจุบัน) แนวกำแพงพระราชวังจันทรเกษมที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นกำแพงที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ในคราวที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระราชวัง เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีความยาวด้านละ 4 เส้น (160 เมตร) บนกำแพงประดับด้วยใบเสมาโดยรอบ มีประตูทางเข้า 4 ด้าน ๆ ละ 1 ประตู
พระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ภายในพระราชวังจันทรเกษม สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์และที่ทำการมณฑลเทศาภิบาล จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารต่าง ๆ ขึ้นมาอีกครั้ง

about TH 01

พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ติดกับกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอาคารเครื่องไม้ บนชานพลับพลาก่ออิฐถือปูน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตัวพลับพลาขึ้นใหม่บนรากฐานเดิมซึ่งเหลือเพียงซาก่ออิฐถือปูนของชานพลับพลาใช้เป็นที่ประทับและเป็นท้องพระโรง สำหรับว่าราชการขณะเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเป็นพลับพลาจตุรมุขแฝดมีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 3 มุข หลังคามุงกระเบื้อง มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันของมุขทั้ง 6 ของเดิมปั้นปูนประดับเป็นลายพระราชลัญจกรต่าง ๆ ไม่ซ้ำกันคือ
ด้านหน้ามุขกลาง       เป็นลายพระราชลัญจกรมหาโองการ
ด้านหน้ามุขเหนือ       เป็นลายพระราชลัญจกรครุฑพ่าห์
ด้านหน้ามุขใต้          เป็นลายพระราชลัญจกรหงส์พิมาน
ด้านหลังมุขกลาง       เป็นลายพระราชลัญจกรมังกรคาบแก้ว
ด้านหลังมุขเหนือ       เป็นลายพระราชลัญจกรไอยราพต
ด้านหลังมุขใต้          เป็นลายพระราชลัญจกรสังข์พิมาน
สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาชัยวิชิต (นาก ณ ป้อมเพชร) บูรณะครั้งหนึ่งและใช้เป็นศาลาว่าการเมืองกรุงเก่า เมื่อพุทธศักราช 2439 พุทธศักราช 2447 ใช้เป็นที่ตั้งอยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ต่อมาพุทธศักราช 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระยาโบราณราชธานินทร์ซ่อมใหม่อีกครั้งหนึ่งในความอำนวยการของราชบัณฑิตยสภา ซ่อมครั้งนี้ได้รื้อตัวพลับพลาหมดทั้งหลัง เสา รอด ตง ขื่อ หล่อเฟโรคอนกรีตแทนของเดิม ทรงพลับพลาเดิมนั้นเตี้ยอยู่ให้ขยายสูงขึ้นไปอีกศอกหนึ่ง ฝาคงใช้ไม้ตามเดิม หน้าบันทั้ง 6 ลายปูนปั้นของเดิมชำรุด เปลี่ยนเป็นลายไม้แกะสลักแทนและยังคงอยู่มาจนทุกวันนี้

about TH 02

พระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นหมู่อาคารตั้งอยู่กลางพระราชวัง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามแนวรากฐานเดิมและคงจะเสร็จสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปดัดแปลงให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยแบบไทย เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน พื้นไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ใต้ถุนสูง ก่ออิฐเป็นห้อง ๆ อาคารชุดนี้ประกอบด้วยอาคารใหญ่ 2 หลัง ขยายต่อกัน มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและหลัง ทางด้านหน้าของอาคารใหญ่เป็นลานโล่ง มีเรือนขวางขนาดเล็กขนาบ 2 ข้าง เรียกปรัศว์ซ้ายและปรัศว์ขวา (ปรัศว์ – ข้าง, สีข้าง) ในปีพุทธศักราช 2439 ได้ใช้เป็นที่ว่าการมณฑลกรุงเก่า

about TH 03

ศาลาเชิญเครื่อง ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของกลุ่มพระที่นั้งพิมานรัตยา เป็นลักษณะอาคารแบบโถงตะวันตกหลังคามุงกระเบื้อง

about TH 04

หอพิสัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ 4 ชั้น ขนาด 15.80 เมตร x 17.00 เมตร สูง 22 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานว่าสร้างครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่า หอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า

about TH 05

โรงม้าพระที่นั่ง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด 6.00 เมตร 17.00 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ใช้เป็นที่ตั้ง โบราณพิพิธภัณฑ์
โรงละคร เป็นอาคารหลังคาทรงปั้นหยา อยู่บริเวณด้านหน้าของพลับพลาจตุรมุข ปัจจุบันได้ถูกรื้อออกไปแล้ว

about TH 06

อาคารมหาดไทย หรือ ตึกที่ทำการภาค เป็นอาคารรูปตัว L ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ชิดกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ ขนาดกว้าง 10.00 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 50.00 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 65.00 เมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ใช้เป็นตึกที่ทำการภาคต่อมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครองพุทธศักราช 2475 หลังจากนั้นยังได้ใช้เป็นที่ทำการของอัยการจังหวัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานคลังเขต 1 จนกระทั่งพุทธศักราช 2536 จึงได้ส่งคืนให้เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

about TH 07

อาคารสโมสรเสือป่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ขนาด 11.20 เมตร x 20.00 เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้สำหรับเป็นที่ชุมนุมกองเสือป่าของมณฑลกรุงเก่า ภายหลังเป็นที่ตั้ง “สำนักงานหอสมุดแห่งชาติ”
ระเบียงจัดตั้งศิลาจำหลัก แต่เดิมสร้างเป็นระเบียง หลังคามุงสังกะสียาวไปตามแนวกำแพงด้านทิศเหนือและด้านทิศตะวันออก ใช้สำหรับเป็นที่เก็บรักษาบรรดาโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์ได้รวบรวมได้
ในปีพุทธศักราช 2537 นับเป็นที่น่ายินดีว่า อาคารพระที่นั่งพลับพลาจตุรมุข หอพิสัยศัลลักษณ์ และอาคารสโมสรเสือป่า ได้รับพระราชทานรางวัลสถาปัตยกรรมไทยอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามโดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นองค์พระราชทานรางวัล นับเป็นเกียรติยศ และความภาคภูมิใจของ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา