นิทรรศการ

ปัจจุบันได้มีการจัดแสดง นิทรรศการถาวรภายในพระที่นั่งและอาคารต่าง ๆ ดังนี้

พลับพลาจัตุรมุข

TH 01

เป็นห้องที่ระลึก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังแห่งนี้ ได้แก่ พระแท่นบรรทม พระราชอาสน์พร้อมเศวตฉัตร พระบรมฉายาลักษณ์ และเครื่องราชูปโภคต่างๆ ที่หาชมได้ยาก

พระที่นั่งพิมานรัตยา

TH 02

จัดแสดงโบราณศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่พระยาโบราณราชธานินทร์เก็บรวบรวม ได้แก่ ประติมากรรมที่สลักจากศิลา เช่น เทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี กลุ่มพระพุทธรูปสำริด สมัยอยุธยา ที่พบในพระพาหาซ้ายของ พระมงคลบพิตร และพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีความวิจิตรงดงาม รวมทั้งพระพิมพ์แบบต่าง ๆ ที่พบจากกรุวัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะ นอกจากนี้ยังมีเครื่องไม้จำหลักฝีมือช่างอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ประณีตงดงามอีกหลายชิ้น จัดแสดงรวมอยู่ด้วย

อาคารมหาดไทย

TH 03

"อาคารมหาดไทย หรือ ตึกที่ทำการภาค เป็นอาคารรูปตัว L ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ตั้งอยู่ชิดกำแพงพระราชวังด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ ขนาดกว้าง 10.00 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 50.00 เมตร ด้านทิศใต้ยาว 65.00 เมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ใช้เป็นตึกที่ทำการภาคต่อมาจนกระทั่งเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 หลังจากนั้นยังได้ใช้เป็นที่ทำการของอัยการจังหวัด สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานสหกรณ์จังหวัด และสำนักงานคลังเขต 1 จนกระทั่ง พุทธศักราช 2536 จึงได้ส่งคืนให้เป็นที่ทำการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม

หอพิศัยศัลลักษณ์ (หอดูดาว)

TH 04

หอพิศัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ 4 ชั้นขนาดของ 15.80 เมตร x 17.00 เมตร สูง 22 เมตร อาคารตั้งอยู่ริมกำแพงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงก่อนเสียกรุงอยุธยาครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่าหอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภานในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า

ศาลาเชิญเครื่อง

TH 05

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของกลุ่มพระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นลักษณะอาคารแบบโถงตะวันตกหลังคามุงกระเบื้อง หอพิสัยศัลลักษณ์ เป็นอาคารทรงหอ 4 ชั้น ขนาด 15.80 เมตร x 17.00 เมตร สูง 22 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ สันนิษฐานว่าสร้างครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้พังลงตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามรากฐานเดิมแล้วพระราชทานนามว่า หอพิสัยศัลลักษณ์ ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว ต่อมาเมื่อพื้นที่ภายในพระราชวังจันทรเกษม ถูกใช้เป็นที่ทำการมณฑลกรุงเก่า จึงทำหน้าที่เป็นหอสังเกตุการณ์และติดเครื่องสัญญาณเตือนภัยของมณฑลกรุงเก่า

อาคารสโมสรเสือป่า

TH 06

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงปั้นหยาชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง ขนาด 11.20 เมตร x 20.00 เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังพระที่นั่งพิมานรัตยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้สำหรับเป็นที่ชุมนุมกองเสือป่าของมณฑลกรุงเก่า ภายหลังเป็นที่ตั้ง "สำนักงานหอสมุดแห่งชาติ"

โรงม้าพระที่นั่ง

TH 07

เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ขนาด 6 เมตร 17 เมตร ตั้งอยู่ริมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างสมัยรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาโบราณราชธานินทร์ ใช้เป็นที่ตั้ง โบราณพิพิธภัณฑ์