นิทรรศการ

 
ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการในลักษณะอาคารนิทรรศการถาวร ประกอบด้วย อาคารจัดแสดงส่วนหน้า ชั้นล่าง พื้นที่ 160 ตารางเมตร อาคารจัดแสดงส่วนหน้า ชั้นลอย พื้นที่ 60 ตารางเมตร อาคารส่วนขยาย พื้นที่ 400 ตารางเมตร รวม 600 ตารางเมตร นอกจากนั้น มียังอาคารอเนกประสงค์ พื้นที่ 480.5 ตารางเมตร จัดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสาขาประจำแหล่งโบราณคดี การจัดแสดงจึงมุ่งเน้นในทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งหลักแหล่งของชุมชน ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มสมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. อาคารจัดแสดงหลัก

TH 01
 
จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ ภูมิสถานเมืองเชียงแสน เชียงแสนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลวดลายปูนปั้นจากวัดป่าสัก พระพุทธรูปศิลปะล้านนาที่พบในเมืองเชียงแสน เรื่องศิลาจารึกพบในจังหวัดเชียงราย

TH 02
 
จัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดี ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2500 - ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสนและพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย แบ่งออกเป็น 2 หัวเรื่อง ได้แก่ เรื่องโบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน เรื่องโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งทางโบราณคดี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2500 - ปัจจุบัน ทั้งในเมืองเชียงแสนและพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดเชียงราย อาทิ พระพุทธรูป เครื่องประดับเจดีย์ แผ่นอิฐมีจารึก และเครื่องสำริด

2. อาคารจัดแสดงส่วนขยาย

อาคารจัดแสดงส่วนขยายทิศตะวันตก

TH 03
 
จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับ ศิลาจารึกที่พบในจังหวัดเชียงราย เครื่องถ้วยล้านนาจากแหล่งเตาในภาคเหนือ วิถีชีวิต ศาสนาและความเชื่อของชาวล้านนา

อาคารจัดแสดงส่วนขยายทิศตะวันออก

TH 04
 
จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มชนแถบลุ่มน้ำโขง อาทิ เครื่องมือที่ใช้ในการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน เครื่องดนตรีพื้นเมือง ดาบและอาวุธต่างๆ เรื่องเชียงแสนในอดีตกล่าวถึงพัฒนาการของเมืองเชียงแสนในสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เข้าไปอาศัยอยู่ในเมืองเชียงแสน และฟื้นฟูเมืองขึ้นใหม่ เรื่องการเข้ามาของกลุ่มชนต่างๆ เช่น ไทยลื้อ ไทยใหญ่ รวมทั้งชาวเขาไทยภูเขา

3. อาคารชั่วคราว

TH 05
 
จัดแสดงนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์