แผ่นอิฐสลักรูปสตรีถือแส้จามรี

head m15icon360icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
แผ่นอิฐสลักรูปสตรีถือแส้จามรี
แบบศิลปะ :
ชนิด : 
อิฐ
ขนาด :
สูง  36 เซนติเมตร  กว้าง  16.2 เซนติเมตร
อายุสมัย :
อารยธรรมอินโด - โรมัน   พุทธศตวรรษที่ 11 - 13
ลักษณะ :
แผ่นอิฐสลักรูปสตรีถือแส้จามรี สวมผ้านุ่งยาวกรอมเท้า ชักชายพกต่ำคล้ายผ้าโธตีแบบแขก ยืนในท่าตริภังค์ สวมพาหุรัด  ทองกร  กรองศอ  กุณฑลกลม  เกล้าผมปอยเหมือนกับสตรีสมัยทวารวดี มีจุดเด่นอยู่ที่สรีระซึ่งเน้นสะโพกผายทรวงอกใหญ่เป็นพิเศษ ชวนให้นึกถึง Mother Goddess  หรือพระแม่ของสังคมบุพกาลในอินเดีย ซึ่งลัทธิบูชาพระแม่นี้เป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวางในสังคมของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ บางทีอาจเป็นรูปนางอัปสร หรือเทพธิดาในลัทธิพราหมณ์หรือพุทธ การทำรูปพระแม่ในอินเดียมักทำรูปดอกบัวบานหรือหม้อน้ำประดับศีรษะ แต่ในที่นี้เป็นสตรีถือจามรี ซึ่งจามรีเป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์สัญลักษณ์ของกษัตริย์ เท่าที่พิจารณาดูองค์ประกอบทั้งหมด คล้ายกับว่าเป็นงานศิลปะที่สร้างขึ้นอย่างอิสระ มิได้ใช้เป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรม บางทีอาจมิใช่ประติมากรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ถ้าเป็นเช่นนี้จริงย่อมสะท้อนว่าศิลปินหรือช่างปั้นมาจากสังคมที่มีความเจริญสูงในระดับหนึ่ง และแน่นอนที่ต้องมีความเกี่ยวข้องทางวัฒนธรรมกับกลุ่ม “อินโด-ทวารวดี” อย่างแนบแน่น 
สภาพ :
...
ประวัติ :
อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน
คิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล :
QR05
(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)

 hariphunchai model 2017 15icon360 2

hariphunchai zoom 2017 15
icon zoom 2