หลักการและเหตุผล

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ on . Posted in ความเป็นมาโครงการ

หลกการและเหตผล
      ปัจจุบันหน่วยงานและองค์กรการเรียนรู้ต่าง ๆ  ในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการสร้างพิพิธภัณฑ์ เพื่อพยายามนำเสนอเรื่องราว   ที่มาพัฒนาการขององค์กร   อันเกี่ยวเนื่องกับการมีส่วนร่วมธำรงรักษาไว้ซึ่งวิถี  วัฒนธรรม หรือ รูปแบบพัฒนาการที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคม  และประเทศชาติขององค์กรที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบของโบราณวัตถุ วิทยาศาสตร์ ศิลปะและประวัติศาสตร์ โดยจัดแสดงทั้งอย่างชั่วคราวและถาวร พิพิธภัณฑ์ เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อคนไทยในแง่ที่จะได้ ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ปลูกฝังเพื่อให้คนไทย เกิดความตระหนักถึงความพยายามสร้างความมั่นคง ผาสุก กับทั้งยังเป็นการธำรงรักษาไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศเป็นประโยชน์ต่อคนไทย   และชาวต่างชาติที่สนใจที่จะได้เรียนรู้ถึงความเป็นปึกแผ่น วิถีชีวิต  วัฒนธรรม  ตลอดจนพัฒนาการของไทยให้ดีเทียบเท่านานาอารยประเทศ

    การดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ขององค์กรต่าง ๆ ทั่วประเทศ  มีการนำเสนอเรื่องราวที่หลากหลาย กระจายอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑ์เหล่านี้ก็ยังมีข้อจำกัดในการให้บริการ เนื่องด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ขาดความหลากหลาย การเดินทางมาเข้าชมและการประชาสัมพันธ์  การลดข้อจำกัดนี้สามารถดำเนินการได้โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ในอดีตการสร้างและพัฒนาเว็บไซด์ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลการให้บริการของแหล่งเรียนรู้ก็ยังไม่สามารถลดข้อ จำกัดดังกล่าวข้างต้นได้  อีกทั้งยังไม่มีรูปแบบที่น่าสนใจไม่ได้มีการติดตามปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
     หลายประเทศได้นำรูปแบบของแหล่งเรียนรู้เสมือนจริงมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมให้ ผู้คนที่สนใจที่ได้ศึกษา เรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  นับว่าเป็นเครื่องมือ ที่ดีอย่างหนึ่งในยุคสมัยที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นและเอื้ออำนวยประโยชน์ สำหรับประชาชนเหมาะสมจะใช้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมที่ดีที่ได้จัดแสดงเอาไว้ดีแล้วในแหล่ง เรียนรู้ประเภทต่าง ๆ  เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเคารพและตระหนักถึงแก่นแท้ความเป็นตัวตนทาง วัฒนธรรมของชุมชนและประเทศชาติ  ในส่วนของประเทศไทย ได้มีการทดลองและพัฒนานำเอาระบบ Virtual tour  มาใช้ทำสื่อที่จะช่วยทำให้ประชาชนและผู้สนใจได้เห็นภาพเสมือนจริงของการจัด แสดง ไปพร้อมๆ กับการนำเสนอความรู้ของแหล่งเรียนรู้แต่ละแหล่งให้เป็นรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ มีชีวิต   แล้วรวบรวมไว้เป็นเครือข่ายที่ประชาชนสามารถเข้าถึง เพื่อเลือกท่องไปในโลกของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่เป็นทั้งฐานข้อมูลแบบออฟไลน์ เพื่อเผยแพร่  และฐานข้อมูลแบบออนไลน์สำหรับผู้สนใจสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อได้ด้วยตน เอง   ด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ  อุปกรณ์สื่อสารที่ผู้คนโดยทั่วไปมีใช้กันมากขึ้น  อีกทั้งยังมีโทรศัพท์ที่มีลักษณะพิเศษในปัจจุบันที่ช่วยทำให้สามารถเข้าถึง แหล่งเรียนรู้ทุกแห่งที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและงบประมาณในการเดินทาง  และถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัยใหญ่ที่สุด ของประเทศ  ดังจะเห็นได้จากต้นแบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของสภากาชาดไทยในพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี   ที่สำคัญการพัฒนาและสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้เสมือนจริงจะช่วยลดปัญหา ด้านงบประมาณ ในการนำเยาวชน หรือผู้สนใจที่อยู่ในแหล่งเรียนรู้อีกภูมิภาคหนึ่งไปยังแหล่งเรียนรู้ใน แหล่งอื่น    เปิดโอกาสและเพิ่มช่องทางให้ผู้คนที่สนใจศึกษา  สามารถค้นคว้าได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ตามอัธยาศัยได้มากขึ้น  เพิ่มช่องทางให้ผู้สนใจ  ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่องค์ความรู้ที่จัดแสดงเอาไว้ดี แล้วในพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงในที่ต่าง ๆ ให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น  ผู้คนได้รู้จักและเรียนรู้สื่อจัดแสดงเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้มากขึ้น  นั้นหมายถึงแหล่งเรียนรู้เสมือนจริงจะช่วยสร้างความสนใจให้ผู้ได้ใช้สนใจและ อยากไปศึกษา  เรียนรู้ด้วยตนเองในสถานที่จริงมากขึ้น  ทำให้ยอดผู้เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและอุทยานประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทยมีมากขึ้นด้วย   นับได้ว่าเป็นสื่อที่จะมาช่วยเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานแหล่งเรียนรู้ ของกรมศิลปากรให้พัฒนาได้ไกลเพื่อให้งานพิพิธภัณฑ์ในความเข้าใจของผู้คนทั่ว ไปเป็นรูปธรรมและจับต้องได้มากขึ้นมีการบูรณาการองค์ความรู้ที่กระจายอยู่ใน ภูมิภาคต่าง ๆ มารวบรวม ผสานรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อแสดงให้เห็น ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์ พัฒนาการทุกแง่มุมของประเทศเอาไว้ให้ได้เรียนรู้และนำไปสู่การเสริมสร้าง ปลูกฝังแนวคิดที่ดีในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติควบคู่กับการรักษา เอกลักษณ์  ความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของคนไทยในรุ่นต่อไปมากขึ้น   เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสนองงานพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงจัดทำโครงการนำร่องจัดทำสื่อการเรียนรู้เสมือนจริงสำหรับพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ จำนวน ๔๓ แห่ง อันประกอบด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบและเป็นศูนย์กลางเครือข่ายระบบการเรียนรู้ เสมือนจริง  อันจะก่อให้เกิดการร่วมแรง ร่วมใจ สร้างสังคมเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ขยายตัวมากขึ้นในกลุ่มหมู่เยาวชนและ ประชาชนทั่วไปได้อย่างยั่งยืน  ให้ระบบพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งประเทศไทย สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องราวประวัติศาสตร์   วัฒนธรรม และวิถีชีวิตคนไทยทั้งชาติ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และแหล่งเรียนรู้อื่น เพื่อเป็นต้นแบบของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในประเทศให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม ได้อย่างยั่งยืน