History

about EN 01

Since 1974 until now, the Department of Fine Arts has commenced underwater archaeological work in Thailand with the objectives of studying people’s cultures with regard to water and emphasizing the development of underwater transportation, trading and relationship among ports in the past which has connected to the present time. In 1990, the Department of Fine Arts established the underwater archaeological operation base in Thachalaeb and the center of underwater archaeological conservation at Noen Wong Camp, Bang Kaja Sub-district, Mueang Chanthaburi District, Chanthaburi Province. The capacity of the underwater archaeological survey has been increasing. Furthermore, the number of antiques from ship wreckage beneath water is more found respectively. In 1992, the Navy examined and seized antiques from foreign treasure hunters who came to stealthily look for antiques in the sea in the exclusive economic zone of Thailand and ultimately has delivered them to the Department of Fine Arts for preservation. Therefore, the number of antiques is more than 20,000. Most of them have been maintained in the Underwater Archaeological Office, Noen Wong Camp, Chanthaburi Province.
Screen Shot 2561 02 26 at 1.58.57 PM

Hence, the Department of Fine Arts formulated the urgent policy of establishing the National Maritime Museum as the place where collects and publicizes knowledge about the underwater archaeological work and the maritime history of Thailand. In 1994, at Noen Wong Camp, Bang Kaja Sub-district, Mueang Chanthaburi District, Chanthaburi Province, the ministry approved the project of establishing the Provincial National Museum as the place where people can learn social backgrounds, economies, Natural Science, Ethnology, lifestyles and local cultures. The Department of Fine Arts; thereby, established the Chanthaburi Provincial National Museum which is considered a part of the National Maritime Museum by the Royal Grace from Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, Princess of Naradhiwas, who laid the foundation stone of the National Maritime Museum Building, Chanthaburi Province on 15th June 1994. On Tuesday 9th January 2001, Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana, Princess of Naradhiwas once more visited to the National Maritime Museum, Chanthaburi Province to act as the president for the opening ceremony of the National Maritime Museum, Chanthaburi Province.

The National Maritime Museum is the two-storey twin building. The inside covers 3,500 square meters. It is located in the Archaeological Site of Noen Wong Camp where was the fortress built against the Vietnamese battle in the reign of King Rama III of Thailand.

ประวัติความเป็นมา

about TH 01

นับตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2517 เป็นต้นมา กรมศิลปากรเริ่มต้นงานโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวัฒนธรรมของคนที่เกี่ยวข้องกับน้ำ มุ่งเน้นเรื่องความเป็นมาของการคมนาคมทางน้ำ การติดต่อค้าขาย และความสัมพันธ์ระหว่างเมืองท่าต่างๆในอดีตเชื่อมโยงมาถึงปัจจุบัน ในปี พุทธศักราช 2533 กรมศิลปากรได้จัดตั้งฐานปฏิบัติการโบราณคดีใต้น้ำขึ้น ณ ท่าแฉลบ และศูนย์การอนุรักษ์โบราณวัตถุใต้ทะเล ณ ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี การสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำได้ขยายขีดความสามารถเพิ่มขึ้น จำนวนโบราณวัตถุจากซากเรือจมใต้ทะเลที่พบก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเป็นลำดับ กอปรกับในปี พุทธศักราช 2535 กองทัพเรือได้ตรวจและยึดโบราณวัตถุ จากนักล่าสมบัติต่างชาติ ที่เข้ามาลักลอบค้นหาโบราณวัตถุครั้งใหญ่ในทะเลเขตเศรษฐกิจจำเพาะของไทย และส่งมอบให้กับกรมศิลปากรเก็บรักษา ทำให้จำนวนโบราณวัตถุมีมากกว่าสองหมื่นชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานโบราณคดีใต้น้ำ ค่ายเนินวง จังหวัดจันทบุรี

Screen Shot 2561 02 26 at 1.58.57 PM

ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากร จึงมีนโยบายเร่งด่วนในการจัดสร้าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับงานโบราณคดีใต้น้ำ และประวัติศาสตร์การพาณิชย์นาวีของไทย เมื่อปี พุทธศักราช 2537 ณ ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี และในปีเดียวกันนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัด เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาประวัติความเป็นมาของสังคม เศรษฐกิจ ธรรมชาติวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมของท้องถิ่น กรมศิลปากรจึงจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดจันทบุรีขึ้นโดยผนวกโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จมาทรงวางศิลาฤกษ์ อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พุทธศักราช 2537 และเสด็จมาอีกครั้ง เพื่อทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี เมื่อวันอังคารที่ 9 มกราคม พุทธศักราช2544

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี เป็นอาคารแฝด 2 ชั้น พื้นที่ภายในรวม 3,500 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในบริเวณโบราณสถานค่ายเนินวง ซึ่งเป็นป้อมค่ายโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อรับศึกญวนในสมัยรัชกาลที่ 3