icon menu menu new r1 c1 menu new r1 c2 menu new r1 c3 menu new r1 c4 menu new r1 c5

 

ผังอาคาร 4 ชั้น 1
    ส่วนที่ 1 แสงประทีปจากไกลกังวล
    ส่วนที่ 2 มุ่งพัฒนาอุดรทิศ
    ส่วนที่ 3 พระราชกรณียกิจในภาคอีสาน
    ส่วนที่ 4 ทรงงานทักษิณภาค
    ส่วนที่ 5 พระบารมีปกเกล้าชาวไทย 


4 1

rama9 02rama9 02rama9 02
rama9 02rama9 02

ส่วนที่ 1 แสงประทีบจากไกลกังวล
    นำแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ประทับแรมในช่วง ฤดูร้อนของทุกปี นอกจากจะทรงใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ทรงงาน และเสด็จออกรับพระราชอาคันตุกะ ซึ่งในระยะแรกเที่สด็จฯ ประทับแรม ณ วังไกลกังวล ทรงใช้เวลา ส่วนใหญ่เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริหลายโครงการเกิดขึ้นครั้งแรกในพื้นที่นี้ ได้แก่ โครงการสหกรณ์หุบกะพง ศูนย์ศึกษาการพัฒนา  3 แห่ง ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออก ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากรพราชดำริ จังหวัดจันทบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ยังมีโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริอื่นๆ ในพื้นที่อีกหลายโครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรกรรม ทั้งเรื่องดิน น้ำ และป่าไม้ในพื้นที่นั้นๆ
    งานอดิเรกที่ทรงโปรด เมื่อประทับ ณ วังไกลกังวล ได้แก่ ทรงออกแบบและต่อเรือใบหลายลำ หลายประเภท ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหางเสือเรือใบเวคาให้แก่กองทัพเรือ ต่อมาได้พระราชทานเป็นรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันเรือใบทางไกล “หัวหินรีกัตต้า”
    นอกจากนี้ยังมีพระราชดำริให้นำสุนัขไทยพันธุ์ทางมาฝึกเพื่อรักษาความปลอดภัย ตรวจตราเวรยาม เขตพระราชฐานร่วมกับกำลังช่วยพิทักษ์วังไกลกังวล และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างเผือกประจำรัชกาลมายืนโรง ณ โรงช้างต้น วังไกลกังวล ด้วย

ส่วนที่ 2 มุ่งพัฒนาอุดรทิศ
    นำเสนอประวัติการก่อสร้างพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เหตุการณ์เมื่อครั้งเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช 2501 และมีพระราชดำริอันเป็นจุดเริ่มต้น ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ ได้แก่ โครงการหลวง โครงการพัฒนาชาวเขา ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ โครงการฟาร์มตัวอย่างใน พระราชดำริ สถานีโครงการหลวงอินทนนท์ และแนวพระราชดำริฝายกั้นน้ำหรือฝายชะลอความชุ่มชื่น  (Chek Dam)

ส่วนที่ 3 พระราชกรณียกิจในภาคอีสาน
    นำเสนอประวัติการก่อสร้างพระตำหนักภูพานราชนิเวษน์ การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมหัวเมืองอีสาน อย่างทั่วถึง เป็นที่ปลาบปลื้มยินดีของมวลพสกนิกรยิ่งนัก การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรทำให้รับรู้ถึง ความทุกข์ยากแร้นแค้นของราษฎรทรงห่วงใยและทรงหาทางช่วยเหลือด้วยการพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริหลายโครงการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำให้แก่ราษฎร ซึ่งแบ่งออกเป็นโครงการใน ภาคอีสานเหนือและอีสานใต้ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการหัฒนาภูพานอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร” มีภารกิจดำเนินงานสนองพระราชดำริ ศึกษาทดลองหาวิธีการ ทำการเกษตรแบบใหม่ ด้วยวิธีการแบบผสมผสาน และจัดระบบการชลประทาน
    นอกจากนี้ยังทรงมีพระราชดำริให้ช้างสำคัญได้มีชีวิตอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงช้างต้นขึ้น ซึ่งมีพื้นที่ติดกับอุทยานแห่งชาติภูพานที่เป็นป่าธรรมชาติ และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช้างสำคัญจากพระราชวังดุสิตไปยืนโรง ณ สถานที่ดังกล่าว นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นพระบรมราโชบายที่สอดคล้องกับกระแสการอนุรักษ์สัตว์ป่าและธรรมชาติ สมควรที่พสกนิการจะเจริญ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

ส่วนที่ 4 ทรงงานทักษิณภาค
    นำเสนอประวัติการก่อสร้างพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ การเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคใต้ ได้ทอดพระเนตรเห็นทุกข์สุขของราษฎร ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ประทับอยู่ในความทรงจำชาวภาคใต้ จนกลายเป็นสายใยแห่งความจงรักภักดีที่นำไปสู่ความสมัครสมานสามัคคีระหว่างพสกนิกรไทยในภาคใต้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด และทรงหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ของราษฎรอันเป็นที่มาของโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริต่างๆ ได้แก่ โครงการศึกษาป่าพรุโต๊ะแดง โครงการขุดคลองบาเจาะ โครงการพัฒนาพื้นที่ ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ทั้งโครงการด้านชลประทาน เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง อีกด้วย
    และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อชาวไทยมุสลิมภาคใต้ ชาวมุสลิมภาคใต้จึงได้ถวายพระราช สมัญญาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “รายอกีตอ” แปลว่า  “ในหลวงของเรา”

ส่วนที่ 5 พระบารมีปกเกล้าชาวไทย
    จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหัวข้อ รูปที่มีทุกบ้านของ ประชาชนชาวไทย และทรงเป็นหลักชัย เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติตลอดมา