icon menu menu new r1 c1 menu new r1 c2 menu new r1 c3 menu new r1 c4 menu new r1 c5


 ผังอาคาร 3 ชั้น 2
    ส่วนที่ 1 ณ วังสระปทุม
    ส่วนที่ 2 ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม
    ส่วนที่ 3 พระตำหนักในแดนไกล
    ส่วนที่ 4 ตามเสด็จนิวัตพระนคร
    ส่วนที่ 5 เถลิงถวัลราชสมบัติ
3 2

rama9 02 rama9 02 rama9 02 rama9 02 rama9 02


ส่วนที่ 1 ณ วังสระปทุม
    นำเสนอเหตุการณ์ พุทธศักราช 2471 เมื่อสมเด็จพระบรมราชชนกทรงสอบไล่ได้ ปริญญาแพทย์ศาสตร์ชั้นเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ทรงพาครอบครัวมหิดลเสด็จ กลับประเทศไทย ประทับ ณ พระตำหนักที่สร้างขึ้นใหม่ ภายในวังสระปทุม ตำหนักซึ่งชาววังเรียกว่า  “ตำหนักใหม่”
    สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงตั้งพระทัยไปเป็นแพทย์ที่โรงพยาบาลศิริราช แต่ไม่เป็นไปตามพระราช ประสงค์ด้วยพระอิสริยยศเป็นอุปสรรค และเมื่อโรงพยาบาลแมคคอร์มิคที่เชียงใหม่กราบบังคมทูลเชิญไป เป็นแพทย์ประจำบ้าน พระองค์ก็ทรงรับ ต่อมาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน พุทธศักราช 2472 รวมพระชนมายุ 37 พรรษา

ส่วนที่ 2 ขณะเยาว์พระชันษา ณ วังสระปทุม
    นำเสนอพระราชจริยวัตรในวังสระพระปทุมของเจ้านายพระองค์น้อย ภายหลังจาก สมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต ในช่วงพุทธศักราช 2471 – 2476 เจ้านายพระองค์น้อยทั้ง 3 พระองค์ ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดีจากสมเด็จพระบรมราชชนนี และทรงได้รับความรักความเมตตาอย่างสูงจาก สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จนกระทั่งทรงพระเจริญพระชันษาและเข้ารับการศึกษาชั้นต้น พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี มีพระราชพิธีเปิดพระปฐมบรมราชานุสนณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ 1 ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิด ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเข้าอยู่หัวอานันทมหิดลและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงพระเยาว์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในพระราชพิธีด้วย นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชในการฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วย
    เมื่อคณะราษฎร์ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 ความผันแปรครั้งใหม่ใน บ้านเมือง ส่งผลต่อสถานะภาพของพระบรมวงศานุวงศ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพาพระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จไปต่างประเทศเพื่อทรงศึกษา และรักษาพระพลานามัยของ พระราชโอรสองค์โต ทรงเลือกประทับ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ส่วนที่ 3 พระตำหนักในแดนไกล
    จัดแสดงเหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระราชหฤทัยทรงสละราช สมบัติขณะประทับอยู่อังกฤษ และรัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญพระวรวงศเธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระกรุณาให้ โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชมารดา พระเชษฐภคินี และพระอนุชา ให้ทรงดำรงพระอิสริยยศตามฐานันดร ศักดิ์อันสมควรแห่งราชวงศ์
    รัฐบาลได้ถวายคำแนะนำให้ทรงเปลี่ยนที่ประทับจากแฟลตมาประทับที่บ้านเช่าที่หลังใหญ่ขึ้น ณ เมืองพุยยี  (Pully) ทรงตั้งชื่อบ้านหลังใหม่ว่า วิลล่าวัฒนา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงอภิบาลพระราชโอรสและพระราชธิดา โดยให้ทรงกีฬาประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมตามฤดูกาล เช่น สกี สเก็ตน้ำแข็ง ไต่เขา ว่ายน้ำ กรรเชียงเรือ เรือใบ เทนนิส เป็นต้น และงานอดิเรกที่โปรด เช่น การเลี้ยงสัตว์ การประดิษฐ์รถแข่งและเรือรบจำลอง การถ่ายรูป ดนตรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังมีความสน พระราชหฤทัยทางด้านการช่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ช่างกล ช่างไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์

ส่วนที่ 4 ตามเสด็จนิวัตพระนคร
    นำเสนอเหตุการณ์การเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 เมื่อพุทธศักราช 2481 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินี และพระอนุชา จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สู่ประเทศไทย ตลอดระยะเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ประทับในหระนคร ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ โดยมีพระอนุชาตามเสด็จด้วยเสมอ ทั้ง 2 พระองค์ มีพระราชจริยวัตรอันงดงาม ยังความชื่นชมโสมนัสมาสู่ผู้ที่ได้เฝ้าฯ โดยถ้วนหน้า ทรงเป็นยุวกษัตริย์ที่รักของ ปวงชนชาวไทย กระทั่งเสด็จฯ กลับสวิตเซอร์แลนด์
    ขณะประทับที่สวิตเซอร์แลนด์ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นำเสนอสภาพการณ์โดยทั่วไปในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเจ้านายในราชสกุลมหิดล
    พุทธศักราช 2488 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 เสด็จนิวัตพระนคร ครั้งที่ 2 พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และพระอนุชา การเสด็จนิวัตพระนคร ครั้งที่ 2 นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 8 ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สำคัญ คือ การเสด็จไปทรง เยี่ยมราษฎรตามท้องที่ต่างๆ นอกเขตพระนคร เช่น สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี เป็นต้น สร้างความ ปลื้มปิติและบำรุงขวัญกำลังใจแก่ราษฎร
    เช้าวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2489 เหตุการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ต้องพระแสงปืนสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ได้นำความเศร้าโศกอย่างใหญ่หลวง มาสู่คนไทยทั้งชาติ

ส่วนที่ 5 เถลิงถวัลยราชสมบัติ
    นำเสนอเหตุการณ์การเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ตามลำดับในการสืบราชสันตติวงศ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จากนั้นทรงประกอบพิธีหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ณ โรงแรมวินด์เซอร์ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
    พุทธศักราช 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จนิวัตประเทศไทย เพื่อถวายพระเพลิง พระบรมศพ รัชกาลที่ 8 จากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส การประกาศสถาปนา หม่อมสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ต่อมามีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การประกาศสถาปนา สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
    หลังการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อรักษาพระพลานามัย จนกระทั่งพุทธศักราช 2494 ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ พระราชธิดา พระองค์โตที่ประสูติ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวไทย มีความสุขมากที่สุด ด้วยนับแต่นี้พระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพรักจักประทับใน เมืองไทยอย่างเป็นการถาวร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระประสูติกาลพระราชโอรส และพระราชธิดาอีก 3 พระองค์ คือ
    1. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ
    2. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์
    3. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
    เมื่อพุทธศักราช 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระผนวช และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์