การจัดแสดง

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

นิทรรศการถาวร

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีและผลงานร่วมสมัย นำเสนอให้เห็นวิวัฒนาการของผลงาน
สร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลงานที่สำคัญและทรงคุณค่าต่อวงการศิลปะในประเทศไทย
          จิตรกรรมไทยประเพณีมีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้รับการยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งอดีต จนกลาย
เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาสอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดี ตลอดจน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่
          จิตรกรรมไทยประเพณีระยะแรกตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา คงวาดประดับผนังอาคาร ศาสนสถาน (สันติ 2544 : 101) ต่อมาจึงได้เริ่มวาดลงบนวัสดุอื่น เช่น บนผืนผ้าหรือที่เรียกว่าพระบฏ และบนกระดาษคือจิตรกรรมสมุดไทยหรือสมุดข่อย แนวทางการแสดงออกของจิตรกรรมไทย
ประเพณี เป็นแบบอุดมคติ เขียนในแนวระนาบสองมิติ เน้นการตัดเส้นรอบนอกรูปทรงคมชัดและตัดเส้นรายละเอียดภายใน นิยมใช้สีวรรณะ
เอกรงค์ (Monochrome) จำกัดเพียงสีแดง ดำ ขาว เหลือง หรือ สีทอง ซึ่งล้วนได้จากธรรมชาติ เช่นสีแดงได้จากดิน สีดำจากเขม่าหรือถ่าน สีทองได้จากทองคำเปลว เป็นต้น (ศิลป์ 2545 : 113 - 117, สันติ 2544 : 179)
          อนึ่งการเขียนภาพหรือลวดลายสีทองปนพื้นสีดำประดับตู้ไม้สำหรับเก็บคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาพสองมิติ อนุโลมว่าอยู่ในประเภทงานจิตรกรรมด้วยเช่นกัน (สันติ 2544 : 166)
          ในสมัยรัตนโกสินทร์ความสืบเนื่องของศิลปกรรมแนวอุดมคติได้เปลี่ยนไปเนื่องมากจาก ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเจริญทาง
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์และการเปิดรับความรู้ทางศิลปวิทยาการจากต่างประเทศโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ประเทศตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ.2394 - 2411) คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการ
แสดงออกของจิตรกรรมไทยประเพณี จากแนวอุดมคติมาเป็นแบบสมจริง โดยนำเทคนิคและวิธีการของตะวันตกมาใช้เช่นกฎเกณฑ์ทัศนียวิทยา
(Perspective) เพื่อสร้างความลึกลวงตาเป็นสามมิติในภาพเขียนเช่นเดียวกับที่พบเห็นในธรรมชาติ (อภินันท์ 2537 : 2 : 9) ทั้งนี้ไม่รวมจำนวนสีที่ใช้เพิ่มขึ้นโดยเป็นสีที่ได้จากกรรมวีธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความคงทน และความสะดวกในการใช้งานในส่วนของเนื้อหาเรื่องราวในภาพมิได้มุ่ง
เน้นเพียงเรื่องทางพุทธศาสนาอีกต่อไปเหตุการณ์ในพงศวดาร ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภาพวิถีชีวิตประจำวันถูกยกระดับให้เป็นเนื้อหาหลักในภาพ
          จิตรกรรมแนวตะวันตกทั้งรูปแบบและกรรมวี แต่วาดเรื่องราวอุดมคติของไทย เช่น เรื่องชาดก เป็นงานบุกเบิกโดย ขรัวอินโข่ง จิตรกรเรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (ไม่ปรากฎปีที่เกิดและเสียชีวิต) (วิยะดา 2522 : 13 - 14) และสมเด็จพระบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานิริศรานุวัติวงศ์ (พ.ศ.๒๔๐๖-๒๔๙๐) นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่าน เป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญ
สำหรับช่างรุ่นต่อมาจนถึงช่วงแห่งการเรียนรู้งานช่าง ตามทฎษฎีและวีธีการแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษาของไทย
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page12-13)

room1

1. ห้องเฉลิมพระเกียรติ :

          จิตรกรรมภาพฝีพระหัตถ์ จัดแสดงภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีโอกาสได้ชื่นชมในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์

room2

2. ห้องจิตรกรรมไทยประเพณี

          จัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณีซึ่งเป็นจิตรกรรมที่มีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนกลายเป็น
ระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่สอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดีและวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัย
ก่อน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพจิตรกรรมของ ขรัวอินโข่ง จิตรกร ผู้เรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่านเน้นการนำเรื่องราวอุดมคติของไทยมาวาดผสมผสานกับเทคนิคแบบตะวันตก ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญสำหรับช่างไทยในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
           จิตรกรรมไทยประเพณีมีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้รับการยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งอดีต จนกลาย
เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาสอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดี ตลอดจน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่
           จิตรกรรมไทยประเพณีระยะแรกตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา คงวาดประดับผนังอาคาร ศาสนสถาน (สันติ 2544 : 101) ต่อมาจึงได้เริ่ม
วาดลงบนวัสดุอื่น เช่น บนผืนผ้าหรือที่เรียกว่าพระบฏ และบนกระดาษคือจิตรกรรมสมุดไทยหรือสมุดข่อย แนวทางการแสดงออกของจิตรกรรมไทย
ประเพณี เป็นแบบอุดมคติ เขียนในแนวระนาบสองมิติ เน้นการตัดเส้นรอบนอกรูปทรงคมชัดและตัดเส้นรายละเอียดภายใน นิยมใช้สีวรรณะ
เอกรงค์ (Monochrome) จำกัดเพียงสีแดง ดำ ขาว เหลือง หรือ สีทอง ซึ่งล้วนได้จากธรรมชาติ เช่นสีแดงได้จากดิน สีดำจากเขม่าหรือถ่าน สีทองได้จากทองคำเปลว เป็นต้น ( ศิลป์ 2545 : 113 - 117, สันติ 2544 : 179)
           อนึ่งการเขียนภาพหรือลวดลายสีทองปนพื้นสีดำประดับตู้ไม้สำหรับเก็บคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาพสองมิติ อนุโลมว่าอยู่ในประเภทงาน
จิตรกรรมด้วยเช่นกัน(สันติ 2544 : 166)
          ในสมัยรัตนโกสินทร์ความสืบเนื่องของศิลปกรรมแนวอุดมคติได้เปลี่ยนไปเนื่องมากจาก ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเจริญทาง
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์และการเปิดรับความรู้ทางศิลปวิทยาการจากต่างประเทศโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ประเทศตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ.2394 - 2411) คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการ
แสดงออกของจิตรกรรมไทยประเพณี จากแนวอุดมคติมาเป็นแบบสมจริง โดยนำเทคนิคและวิธีการของตะวันตกมาใช้เช่นกฎเกณฑ์ทัศนียวิทยา
(Perspective) เพื่อสร้างความลึกลวงตาเป็นสามมิติในภาพเขียนเช่นเดียวกับที่พบเห็นในธรรมชาติ (อภินันท์ 2537 : 2 : 9) ทั้งนี้ไม่รวมจำนวนสีที่ใช้เพิ่มขึ้นโดยเป็นสีที่ได้จากกรรมวีธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความคงทน และความสะดวกในการใช้งานในส่วนของเนื้อหาเรื่องราวในภาพมิได้มุ่งเน้นเพียงเรื่องทางพุทธศาสนาอีกต่อไปเหตุการณ์ในพงศวดาร ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภาพวิถีชีวิตประจำวันถูกยกระดับให้เป็นเนื้อหาหลักในภาพ
          จิตรกรรมแนวตะวันตกทั้งรูปแบบและกรรมวี แต่วาดเรื่องราวอุดมคติของไทย เช่น เรื่องชาดก เป็นงานบุกเบิกโดย ขรัวอินโข่ง จิตรกรเรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (ไม่ปรากฎปีที่เกิดและเสียชีวิต) (วิยะดา 2522 : 13 - 14) และสมเด็จพระบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานิริศรานุวัติวงศ์ (พ.ศ.๒๔๐๖-๒๔๙๐) นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่าน เป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญ
สำหรับช่างรุ่นต่อมาจนถึงช่วงแห่งการเรียนรู้งานช่าง ตามทฎษฎีและวีธีการแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษาของไทย
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page12-13)

room3

3. ห้องจิตรกรรมแบบตะวันตก

          จัดแสดงภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมผสานกับรูปแบบจิตรกรรมตะวันตก เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเปิดรับวิทยาการ
จากประเทศตะวันตกมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า หากแต่ยังคงรักษาความเป็นไทยเอาไว้ ในช่วงเวลานี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2449 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีและศึกษาความเจริญทางศิลปวิทยาการของ
ประเทศเหล่านั้น
          ขณะที่จิตกรรมไทยผสมรูปแบบตะวันตกได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมนระดับหนึ่ง ศิลปินหลายท่านได้สร้างสรรค์ผลงานที่มี
เนื้อหาเรื่องราวที่เป็นความนิยมแบบตะวันตกแท้ๆ ควบคู่กันไป เช่น การวาดภาพเหมือนบุคคลทั้งภาพเดี่ยวและภาพกลุ่ม ภาพทิวทัศน์ที่เน้นความ
ยิ่งใหญ่และความงดงามของธรรมชาติ รวมทั้งภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ซึ่งแสดงฝีมือของศิลปินในการจัดวางภาพและเก็บรายละเอียดของสิ่งต่างๆ
          ความนิยมในการใช้สีน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เพราะใช้งานง่าย ให้อิสระในการวาดมากกว่าสีฝุ่น ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับการใช้ผ้าใบแทนการ
วาดลงบนแผ่นไม้หรือผืนผ้าดิบ
          ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกเหนือจากการรับวิทยาการตะวันตกแล้วยังเนื่องมาจากพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์
ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนให้สร้างงานศิลปะภาพเหมือนบุคคลขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้พระองค์เองและ
พระบรมวงศานุวงศ์ ประทับเป็นแบบให้ศิลปินวาดภาพ เป็นการลบล้างความเชื่องมงายของไทย ที่ว่าหากกระทำเช่นนั้น จะส่งผลในทางลบแก่
บุคคลผู้เป็นแบบ (อภินันท์ 2537 : 1 : 18-21) พระราชนิยมดังกล่าวคงเป็นส่วนหนึ่งของพระราโชบายในการพัฒนาประเทศให้เป็นอารยะ ตาม    
          แนวคิดเชิงเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ การสร้างสยามให้เป็นอารยะตลอดจนการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ที่เป็น
พันธมิตร เช่น รัสเซีย เหตุผลเพื่อถ่วง ดุลอำนาจและบรรเทาความเสียหายของชาติอันเกิดจาก ลัทธิล่าอาณานิคมของชาวยุโรป โดยเฉพาะจาก
อังกฤษและฝรั่งเศล คือ นดยบายหลักด้าน การต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
(จุลจักรพงษ์ 2551 : 220 - 240 ,บังอร 2537 : 281 - 288)
          วิธีดำเนินการวิธีหนึ่งคือ การเสด็จประพาสยุโรปสองครั้งในปี พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2449 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีและศึกษาความเจริญทาง
ศิลปวิทยาการของประเทศเหล่านั้น ในการนี้ทรงนำช่างฝีมือชาวไทยตามเสด็จ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ได้เห็นและคุ้นเคยกับผลงานและการสร้าง สรรค์แบบตะวันตก(อภินันท์ 2537 : 1 : 226 - 227) นอกจากนี้การจ้างชาวต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาทำงานในราชสำนัก ตลอดจนการส่งช่างฝีมือชาวไทยไปศึกษาศิลปะ ณ ประเทศยุโรป ยังผลมห้การสร้างสรรค์ศิลปกรรมแบบตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีคุณภาพสูงทัดเทียมกับต่างประเทศ แนวความคิดในการพัฒนาประเทศด้วยวัฒนธรรมตะวันตกแต่ยังรักษาความเป็นไทยไว้ เป้นผลพวงจากอิทธิพลของ
ลัทธิชาตินิยมที่ชนชั้นปกครองของไทยได้รับจากการไปศึกษายังต่างประเทศ (วิไลเลขา 2545 : 139 - 140)
          แนวคิดดังกล่าวได้รับการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากการปรับปรุงประเศในหลายๆ
ด้านกล่าวเฉพาะด้านศิลปกรรม ได้มีการตั้งกรมศิลปากรขึ้น
          ในปี พ.ศ.2455 “เพื่อทำนุบำรุงและพัฒนาศิลปะและงานฝีมือของประเทศ” (พิริยะ และคณะ 2525 : 25) และจัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นใน
พ.ศ.2456 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่การเรียนศิลปะอย่างเป็นระบบสู่สาธารณชน พร้อมกับฝึกหัดช่างรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญทั้งศิลปะไทยประเพณีและศิลปะตะวันตก (อำนาจ 2524 : 50 - 56) ในปี พ.ศ.2466 รัฐบาลไทยได้ว่าจ้างศิลปินชาวอิตลี ซึ่งมีคุณวุฒิถึงระดับศาสตราจารย์ชื่อ นายคอร์รา โด เฟโรจี (Corrado Feroci) เข้ามารับราชการ ตำแหน่งช่างแน สังกัดกรมศิลปากร (ศิลป์ พีระศรี 2545 : 9 - 10) ปรากฏว่าในเวลาต่อมาบุคคลผู้ นี้มีส่วนสำคัญในการผลักดันวงการศิลปะของชาติให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page 22)          

room4

4. ห้องประติมากรรม

          จัดแสดงผลงานประติมากรรมในยุคของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชาธิปไตยในปี
พ.ศ.2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนและอุปถัมภ์ศิลปกรรมแขนงต่างๆ แทนราชสำนัก และเป็นช่วงที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (มหาวิทยาลัยศิลปากร)  และเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ จนได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

ศิลปกรรมไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2510

          การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชิปไตนในปี พ.ศ.2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการ
สนับสนุนและอุปถัมถ์ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ แทนราชสำนัก ปีพ.ศ.2476 กรมศิลปากรได้จัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น เพื่อฝึกสอนการเขียนภาพและปุ้นรูปตามแบบยุดรป ภายใต้การอำนวยการของ ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ซึ่งต่อมาได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยและเปลี่ยนชื่อเป็น
ศิลป์พีระศรี (ศิลป์ 2524 : 17)
          หลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป้นโรงเรียนศิลปากร) เป็นหลักสูตรเดียวกันกับราชวิทยาลัยศิลปะแห่ง
เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี (Royal Academy of Fine Arts) ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์เคยศึกษามาก่อน (วิบูลย์ 2542 : ก : 76 - 77) นักเรียนที่จบ
การศึกษาจึงมีฝีมือสูง “ในการใช้ศิลปกรรม เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติไทยยุคใหม่” (สุธี 2545 : 49) จึงยกระดับโรงเรียนประณีตศิลปกรรม
เป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร” เมื่อปี พ.ศ.2486 (ศิลป์ 2545 : 15)
          กว่าหกทศวรรษที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ออกเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นจำนวนมากและ
เป็นหน่วยงานหลักที่ริเริ่มจัดงานแสดงศิลปกรรมปห่งชาติใน พ.ศ.๒๔๙๒ โดยจัดติดต่อกันมาทุกปี จุดประสค์เพื่อเป็นเวทีในการแสดงออกของศิลปิน ไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ
(อำนาจ 2524 : 113 - 11)
          การเสียชีวิตของศาสตราจารย์สิลป์ พีระศรี ในปี พ.ศ.๒๔๐๕ อาจถือเป็นสัญลักษณ์ของการลดบทบาทอันเข้มข้นของศิลปะตามหลักวิชาการ
ตะวันตกลง พร้อมไปกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มศิลปินหัวก้าวในการทำงานศิลปะสมัยใหม่ซึ่งเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2505 - 2506 เป็น
ต้อนไป (วิรุณ 2534 : 143 - 144)
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page 34)

room5

นิทรรศการหมุนเวียน

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  จัดนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี  เดือนละ  2 - 4 นิทรรศการ  ผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นผลงานทัศน
ศิลป์ทุกประเภทที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการศิลปะ เป็นผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)