เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

02icon zoom

ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ

     ชื่อเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า อเนกะชาตะภุชงฺคะ แปลว่า งูหลากหลายชนิดซึ่งสอดคล้องกับรูปโขนเรือที่ลงรักปิดทองมีลายรูปงูตัวเล็กๆ จำนวนมาก คำภาษาสันสกฤตคือ ภุชงฺคะ มีความหมายเดียวกันกับ นาคะ นาคะหรือไทยเรียกว่า นาค เป็นเทพในฮินดูปกรณัมปรัมปรา บางครั้งก็ปรากฏในพระพุทธศาสนาด้วย นาคที่เป็นเทพหรือทิพยนาคเป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจ ความรอบรู้ และความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าหลายองค์ของศาสนาฮินดูโยงใยกับนาคหรือที่ปรากฏในรูปร่างของงู หรืองูเทพ (งูทิพย์) เช่น พระวิษณุบรรทมบนพญานาคอนันตะหรือเศษะนาคทอดตัวอยู่เหนือแผ่นน้ำ รูปแบบของงูหรือนาคตัวเล็กๆ จำนวนมากที่หัวเรือเช่นนี้ น่าจะหมายถึงนาคที่มีจำนวนนับพันซึ่งเป็นเหล่าบรรดานาคที่กำเนิดจากมหาฤษีกัศยปะและนางกัทรุ นาคเหล่านี้อาศัยอยู่ในโลกบาดาล เรียกว่า นาคโลก แปลว่า โลกของนาคทั้งหลาย ตามปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ

     เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 (พุทธศักราช 2411 - 2453) ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง หัวเรือลงรักปิดทองลายรดน้ำเป็นรูปนาคตัวเล็กๆ จำนวนมาก ตอนกลางลำเรือมีราชบัลลังก์กัญญา ซึ่งเป็นที่ประทับเปลื้องเครื่องหรือเปลื้องพระชฎามหากฐินของพระเจ้าอยู่หัวก่อนเสด็จขึ้นหรือลงเรือพระที่นั่งอีกลำ เรือมีความยาว 45.67 เมตร กว้าง 2.91 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 91 เซนติเมตร กินน้ำลึก 46 เซนติเมตร น้ำหนัก 7.7 ตัน กำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 61 คน นายเรือ 2 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนถือฉัตร 7 คน คนขานยาว 1 คน คนขานยาวทำหน้าที่ในการร้องขานเพลงเรือ โดยฝีพายจะร้องเห่เรือพร้อมกันไปตามจังหวะร่วมกับเรือลำอื่นๆ

 

     The name of the Royal Barge Anekkachatphutchong derives from the Sanskrit compound word, anekajātabhujaṅga, literally, the variety of serpents. It is in harmony with its bow that is intricately carved and gilded in delicate pattern of small serpents. The Sanskrit word bhujaṅga is often used as a synonym for nāga. Nāgas mainly form part of Hindu pantheon, but some are also a part of Buddhism. Such deities represent power, wisdom, and fertility. Several Hindu deities are associated with nāgas or serpents or with serpent divinities. For instance, the god Viṣṇu rests in the waters on Ananta or Śeṣanāga. A pattern of numerous small serpents of the bow such as this represents the different forms of nāgas who are one thousand sons of Kaśyapa and Kadru and live in Pātāla (netherworlds), known as Nāgaloka, literally, the world of nāgas, according to some of the Indian Purāṇas.

     The Royal Barge Anekkachatphutchong was built in the reign of King Chulalongkorn the Great (Rama V, r. 1868 – 1910). Its hull is painted pink outside and red inside, numerous small ornamented serpent figures are carved into the bow. In the middle of the barge is placed a pavilion in which a throne called ratcha-banlang-kanya (Pali: rāja-pallaṅka-kaññā) is fixed. It would function as the king’s to take off his ornaments before arriving at the temple of the Kathin ceremony. The length of the barge is 45.67 meters and the width at the beam 2.91 meters. The depth of the hull is 91 centimeters and the draught is 46 centimetres. Its displacement is 7.7 tons. It is manned by sixty-one oarsmen with two steersmen, two officers fore and aft, one standard bearer, one signalman, seven bearers of Royal Chatras (literally, umbrellas, which are the royal regalia) and one chanter. The chanter is the singing leader of a boat song and the oarsmen chant rhythmically in unison together with the chanter on each barge.

 

bz0092ok