ประวัติความเป็นมา

01

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร
          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร ตั้งอยู่ที่พระวิหารสมเด็จ พระระเบียงคดรอบพระอุโบสถและศาลาบัณณรศภาค โดยประกาศในราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 94 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เรื่องกำหนดสถานที่เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
         
          วัตถุประสงค์หนึ่งในการสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เนื่องจากเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑสถานรวบรวมพระพุทธรูปโบราณแบบและสมัย
ต่างๆ โดยหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัวได้ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามแล้ว พระองค์ทรงดำริว่า ที่ระเบียงพระวิหารคดควรจะมีพระพุทธรูปโบราณปางต่างๆ มาประดิษฐานไว้เพื่อความสวยงามและวิจิตรพิสดาร และเพื่อเป็นที่สักการบูชาของประชาชนที่มาเยือนวัดเบญ
จมบพิตรดุสิตวนาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ กรมพระยาดำรราชานุภาพ เสาะแสวงหาพระพุทธรูปที่พระองค์ทรงสนพระทัยดังพระดำรัสที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้รับสนองแนวพระราชดำริ ทรงแสดงไว้ในปาฐกถาแก่สมาชิกสยามสมาคม ณ วัดเบญ
จมบพิตรดุสิตวนาราม เรื่อง พรุพุทธรูปต่างๆ ณ วัด เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2470 ความตอนหนึ่ง ดังนี้
       
         “บรรดาพระพุทธรูปสำหรับจะประดิษฐานไว้ ณ วัดนี้ ควรจะเลือกหาพระพุทธรูปโบราณซึ่งสร้างขึ้นในประเทศและในสมัยต่างๆ กัน อันเป็นของดีงามมีอยู่เป็นอันมาก รวบรวมมาตั้งแสดงให้มหาชนเห็นเป็นแบบอย่างพระพุทธรูปต่างๆ โดยทางตำนาน จึงโปรดให้สร้างพระระเบียงขึ้นในวัดนี้ และ โปรดให้เป็นหน้าที่ชองข้าพเจ้าทีจะคิดจัดหาพระพุทธรูปแบบต่างๆ มาตั้งในพระระเบียงตามพระราชดำริ”

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วัดเบญจมบพิตร จึงเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุสำคัญของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม โดยเก็บรักษาในอาคารสำคัญ ได้แก่

1.พระวิหารสมเด็จ
          พระวิหารสมเด็จ เป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อ พ.ศ. 2445 ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นหอพระธรรมประจำวัด พระราชทานนามว่า “หอพุทธสาสนสังคหะ” ครั้นต่อมาในปี พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผนวกกิจกรรมของหอพุทธสาสนสังคหะเข้ากับหอพระสมุดดวชิรญาณ ดังนั้น ภายในหอพุทธสาสนดังคหะจึงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตู้พระธรรม คัมภีร์ พระไตรปิฎก เครื่องลายครามเป็นต้น
               ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารสองชั้นจัตุรมุข ที่หน้าบันซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายห้านขดปิดทองประดับกระจก มีตรา
พระปรมาภิไธย เนื่องจากพระวิหารหลังนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชชินีนาถ พระพันปีหลวง(พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) ทรงสร้างโดยเสด็จพระราชกุศล พระวิหารนี้ เดิมจะใช้เป็นหอธรรมสำหรับวัดเบญจมบพิตร ครั้งเมื่อมีการรวบรวมพระพุทธรูปมาจากหัวเมืองต่างๆ จำนวนมาก โดยในเบื้องต้นได้ประดิษฐานอยู่ในพระระเบียงคดรอบพระอุโบสถต่อมาพื้นที่คับแคบลง พระวิหารสมเด็จแห่งนี้จึงเป็นที่เก็บรวบรวมพระพุทธรูป รวมทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่สำคัญแห่งหนึ่งภายในวัดเบญจมบพิตรฯ
       ชั้นล่างของพระวิหารสมเด็จ เป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปขนาดย่อมกว่าพระพุทธรูปที่คัดเลือกไป ประดิษฐานในพระระเบียงคด ทั้งนี้พระพุทธรูปเหล่านี้ได้มาจากการรวบรวมจากวัดในกรุงและหัวเมืองต่างๆ โดยล้วนเป็นพระพุทธรูปซึ่งมีพุทธลักษณะและรูปแบบทางศิลปกรรมที่งดงาม เป็นตัวอย่างสำคัญในการศึกษาเรื่องพระพุทธรูปในแต่ละยุคสมัย ที่สำคัญคือพระพุทธรูปแบบศิลปะล้านนา สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์
              นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมตู้พระธรรมหรือตู้ลายรดน้ำจำนวน 28 ใบ ซึ่งมีตู้ธรรมหลายลักษณะ ทั้งแบบฐานสิงห์ ขาตู้แบบเท้าสิงห์เหยียบ
ลูกแก้ว และตู้พระธรรมแบบขาหมู โดยตู้พระธรรมบางใบมีหลักฐานว่านาจากวัดในเขตกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี เป็นต้น
             ชั้นบนของพระวิหารสมเด็จ จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ประเภทเครื่องกระเบื้อง โดยมีการจัดชุดเครื่องถ้วยเคลือบลายคราม และเครื่องถ้วยเคลือบสีแดง เป็นชุดเครื่องบูชาอย่างโต๊ะจีน นอกจากนั้นยังมีการรวบรวมเครื่องแก้ว เครื่องอัฏญบริขาร ซึ่งล้วนเป็นสมบัติที่เก็บรักษาอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตรตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชทาน และพระบรมวงศานุวงศ์ประทานไว้ให้เป็นพุทธบุชา และเป็นเครื่องใช้ของสงฆ์ในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
         พระฝาง เป็นพระพุทธรูปกะไหล่ทอง ปางมารวิชัยทรงมงกุฎ และเครื่องราชาภรณ์อย่างพระมหากษัตริย์ ฝีมือช่างอยุธยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ให้อัยเชิญมาจากวิหารหลวง(วัดสวางค์) เมืองฝาง หรือสวางคบุรี จังหวัดอุตรดิตถ์ ลงมาประดิษฐานไว้ที่บุษบก มุขหน้า ชั้นบน ของพระวิหารสมเด็จ

2.พระระเบียงคด รอบพระอุโบสถ
            วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญหลายองค์ นอกจากพระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถแล้วยังมีพระพุทธรูปที่พระระเบียง และประดิษฐานอยู่ในอาคารอื่นๆ ของวัดอีกด้วย
             ภายในพระระเบียงพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ
จำนวน 52 องค์ (องค์สุดท้ายได้มาภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตแล้ว) ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำเนินการเสาะหาทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองตลอดจนถึงต่างประเทศ การแสวงหาพระพุทธรูปนั้น บางครั้งเต็มไปด้วยความยากลำบาก เช่น การอัญเชิญพระพุทธรูปจากวิหารหลวงเมืองเชียงแสน “ต้องอัญเชิญตามทางเรือในลำน้ำโขงมาเข้าแม่น้ำกกขึ้นบกที่เชียงราย หามเข้าเข้ามาลงที่พะเยา” โดยพระพุทธรูปที่จะประดิษฐานที่พระระเบียงต้องอยู่ในเกณฑ์ดังนี้
          1. จะต้องเป็นพระพุทธรูปที่แล้วด้วยฝีมือช่างเอกที่น่าชม
          2. ต้องต่างกัน
          3. ต้องมีขนาดไล่เลี่ยกัน
         วิธีรวบรวมพระพุทธรูปให้ได้ตามเกณฑ์นั้น โดยการสืบเสาะหาพระพุทธรูปของโบราณที่มีอยู่แล้ว ทั้งตามหัวเมืองและที่ในกรุงเทพฯ จนถึงต่างประเทศด้วย จึงเป็นการยากที่จะให้ได้โบราณทั้งหมดตามเกณฑ์ดังกล่าว บางองค์จึงเป็นพระพุทธรูปที่หล่อขยายขึ้นจากพระพุทธรุปองค์เล็ก หรือย่อส่วนลงจากพระพุทธรุปองค์ใหญ่ หรือบางองค์ก็หล่อเท่าเดิมจากพระศิลา ซึ่งมีผู้ศรัทธาโดยเสด็จพระราชกุศลทำถวายทั้งสิ้น ถ้าพบพระพุทธรูปที่ได้อย่าง แต่งเป็นพระขนาดเล็กไปกว่าที่ควรจะตั้งในพระระเบียงได้ ก็ให้ช่างปั้นจำลองขยายส่วนใหญ่ออกไปให้ได้ขนาด แล้วหล่อมาตั้งในพระระเบียง การหล่อพระจำลองมีผู้รับทำถวายทั้งนั้น เพราะการสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการกุศลสืบอายุพระศาสนามีผู้ศรัทธาสร้างไม่ขาด แต่มักมีความลำบากอยู่อย่างหนึ่ง ด้วยเมื่อสร้างแล้วต้องหาที่ไว้พระพุทธรูป เมื่อทราบกันว่าใครสร้างพระพุทธรูปตามแบบอย่างที่ต้องพระราชประสงค์ จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้รับตั้งไว้ในพระระเบียง ก็พากันยินดีรับแบบไปสร้างแล้วเอามาถวายไว้ในวัดเฐญจมบพิตร

3.ศาลาบัณณรศภาค
          เป็นศาลาจัตุรมุข ชั้นเดียว ผนังก่ออิฐถือปูนพื้นหินอ่อน สร้างขึ้นด้วยทุนของพระโอรส พระธิดาเจ้าจอม และพระญาติ ในพระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รวม 15 ราย มีพระนางเจ้าพระราชเทวี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต เป็นต้น เหตุที่สร้างด้วยทุนทรัพย์ 15 ส่วน จึงพระราชทานนามว่า “ศาลาบัณณรศภาค” สร้างแล้วเสร็จและอุทิศถวายในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 เพื่อใช้เป็นหอฉัน
              ภายในมุขตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปที่ไม่ได้ขนาดที่จะประดิษฐาน ณ ระเบียงพระวิหารคดจึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญมาประดิษฐานที่ศาลานี้ โดยเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีลักษณะงดงาม จำนวน 8 องค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกที่เดียวก

01

"04”