นิทรรศการ

Written by พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร on . Posted in นิทรรศการ กิจกรรม - การแสดง

แบ่งเนื้อหาการจัดแสดง ดังนี้

จังหวัดชุมพร

TH 01

เป็นการให้รายละเอียด เกี่ยวกับข้อมูลเบื้องต้นของจังหวัดชุมพรในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ มีสื่อการจัดแสดงได้แก่ การใช้ภาพโปร่งแสง และคำบรรยาย

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในชุมพร
เป็นการกล่าวถึงร่องรอยหลักฐานการดำรงชีวิตของผู้คนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดชุมพร (ในช่วงเวลาราว 2,500 ปีมาแล้ว) โดยใช้ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีในการอธิบาย สื่อการจัดแสดงใช้หุ่นจำลองขนาดเท่าจริง (Near Life-Size Diorama) แสดงภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบกับการใช้โบราณวัตถุและภาพถ่ายแหล่งโบราณคดี ในการอธิบายเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว

พัฒนาการในช่วงต้นประวัติศาสตร์ (สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์)
เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนสมัยประวัติศาสตร์ระยะแรกเริ่ม (ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 5 - 10) คือ การเกิดขึ้นของชุมชนโบราณบริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ แสดงถึงพัฒนาการของชุมชนระยะแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และบทบาทความสำคัญของชุมชนแห่งนี้ ในฐานะเมืองท่าที่มีการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก ผ่านหลักฐานทางด้านโบราณวัตถุ ที่มีความเกี่ยวพันด้านแหล่งกำเนิดจากภูมิภาคต่างถิ่น อาทิเช่น กลองมโหระทึกสำริด หินมีค่าสีต่างๆ (วัตถุดิบในการผลิตลูกปัด) ฯลฯ สื่อการจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงภาพชุมชนเมืองท่าโบราณ บริเวณเขาสามแก้ว ภาพถ่ายโบราณวัตถุจากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว และภาพถ่ายทางอากาศ

สมัยประวัติศาสตร์ในชุมพร
แสดงหลักฐานการอยู่อาศัยและร่องรอยการเกิดขึ้นของชุมชนในสมัยประวัติศาสตร์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นสมัยสุโขทัย (ราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19) สมัยอยุธยา (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 23) และสมัยรัตนโกสินทร์ (ราวพุทธศตวรรษที่ 23 - 25) ผ่านมุมมองทางหลักฐานด้านโบราณคดีที่พบในเขตเมืองชุมพร อาทิเช่น ศิลปวัตถุเนื่องในศาสนา และสิ่งของเครื่องใช้ ฯลฯ สื่อการจัดแสดงประกอบด้วย โบราณวัตถุที่พบในเขตเมืองชุมพร แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์

ชุมพรกับสงครามโลกครั้งที่ 2
และวีรกรรมของยุวชนทหาร เป็นการจัดแสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 และวีรกรรมของยุวชนทหารที่ทำการสู้รบป้องกันอธิปไตยจากการรุกล้ำของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในเหตุการณ์ยกพลขึ้นบกที่จังหวัดชุมพร ในช่วงเช้าของวันที่ 8 ธันวาคม 2484 สื่อการจัดแสดง ใช้หุ่นจำลองขนาดเล็ก (Miniature Figure Diorama) แสดงเหตุการณ์การสู้รบของยุวชนทหาร กับกองกำลังทหารญี่ปุ่น ณ สมรภูมิเชิงสะพานท่านางสังข์ ประกอบกับภาพถ่ายเหตุการณ์สำคัญ ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2

ธรรมชาติวิทยาและมรดกดีเด่นของจังหวัดชุมพร
เป็นการกล่าวถึงลักษณะทางธรรมชาติวิทยาที่โดดเด่นของจังหวัดชุมพร คือ การเป็นแหล่งชีวภาพใต้ทะเลที่มีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการละเล่นในเทศกาลต่างๆ หรือแบบแผนการดำรงชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยใช้สื่อจัดแสดงประเภทภาพถ่าย ภาพลายเส้น หุ่นจำลองขนาดใหญ่และเล็ก เพื่อแสดงเหตุการณ์และเรื่องราวในส่วนนี้ อาทิเช่น หุ่นจำลองวิถีชีวิตพื้นบ้านของคนชุมพร ท่ามกลางบรรยากาศสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ฯลฯ

พลเรือเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวพระประวัติ พระกรณียกิจของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรฯ ที่มีต่อประเทศชาติบ้านเมือง ในด้านต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ของพระองค์ท่านที่มีต่อจังหวัดชุมพร ซึ่งพระองค์ท่านได้ตัดสินพระทัย ใช้เวลาในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ เสด็จมาประทับ ณ หาดทรายรี (ทางใต้ของปากน้ำจังหวัดชุมพร) ตราบจนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466 สื่อการจัดแสดง ใช้ภาพพระสาทิสลักษณ์พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และแผ่นป้ายแสดงลำดับสายสกุล “อาภากร” ประกอบการบรรยายพระราชประวัติของพระองค์ท่าน

ชุมพรกับการเป็นเมืองบนเส้นทางผ่านของพายุไต้ฝุ่น

TH 02

จัดแสดงเรื่องราวว่าด้วยการเกิดพายุไต้ฝุ่นในจังหวัดชุมพร สื่อการจัดแสดง ใช้การสร้างฉากจำลองเหตุการณ์วาตภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์ ที่สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับจังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 มีการใช้เทคนิคแสง-สี-เสียง ประกอบวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถรับรู้เสมือนร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น

นิทรรศการพิเศษ

TH 03

 

Exhibitions

Written by พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร on . Posted in นิทรรศการ กิจกรรม - การแสดง

The permanent exhibition zone is divided into 8 sections as follows.

Chumphon Province

EN 01

This section provides background information about Chumphon province, especially geographic information, though visual aids such as transparent images with descriptions.

Pre-historic Chumphon
His section provides information about living traces of pre-historic people in Chumphon Province (2,500 years ago) which is explained with archeological evidences and visual aids such as nearly life-size diorama which displays how pre-historic people lived their life. In addition, antiquities and pictures from archeological sites are used to tell stories during that period of time.

Early Development (historical turning point)
This section tells stories of early communities (during the 5th - 10th Buddhist century) e.g. how an ancient community was established around Khao Sam Kaew area in Na Cha Ang Sub-district, Mueang District, Chumphon Province based on archeological evidences. This section also displays the development of communities in the early age and important roles of these communities as port cities in which trades were carried out through antiquities related to original sources such as bronze drum, valuable colored stones (raw materials used for producing beads), etc. The visual aids include antiquities from the excavation at Khao Sam Kaew Archeological Site, miniature figure diorama, ancient community images around Khao Sam Kaew area, images of antiquities found at Khao Sam Kaew Archeological Site and aerial images.

History of Chumphon
This section displays evidences of habitation and traces of communities in the history. The content is divided into Sukhothai era (around the 18th – 19th Buddhist century), Ayutthaya era (around the 19th – 23rd Buddhist century) and Rattanakosin era (around the 23rd – 25th Buddhist century) through archeological evidences found in Chumphon Province such as religious artifacts, utensil, etc. The visual aids include antiquities found in Chumphon Province, maps, aerial, miniature figure dioramas showing historical events during Ayutthaya and Rattanakosin eras.

Chumphon and the Second World War
this section displays historical events during the Second World War and bravery of youth soldiers who fought for sovereignty from the invasion of the Imperial Japanese Army during the landing operation in Chumphon Province in the morning of 8 December 1941. The visual aids include miniature figure dioramas to illustrating the military combat with the Japanese military forces at Tha Nangang Bridge along with photos of important events during World War II.

Natural and Heritage of Chumphon Province
This section displays remarkable natural characteristics of Chumphon Province which is an abundant source of marine life, as well as a famous marine tourist spot in Thailand. In addition, this section also displays games in various festivals or unique lifestyles of local people. The media used includes photos, portraits, large and small models to showcase the events and stories such as local lifestyles of local people in a local atmosphere, and etc.

Admiral
Krom Luang Chumphon Ketara Udomsak this section tells stories and missions of Krom Luang Chumphon dedicated to the province in certain aspects, as well as relationship with Chumphon Province. He decided to spend his late life at Sai Ree Beach (in the south of Chumphon Estuary) until his death on 19 May 1923. The exhibition media includes photographs of Admiral Krom Luang Chumphon and a sign showing the “Arpakorn” family tree along with descriptions.

Chumphon as a City on the Route of Typhoon

EN 02

This section display a story of typhoon occurrence in Chumphon Province. The exhibition media includes the simulation of Typhoon Gay which caused considerable damage to Chumphon Province on 4 November 1989 with light-color-sound technique along with videos so that visitors feel like they are in the event.

Exhibitions

EN 03