เรือครุฑเหินเห็จ และ เรือครุฑเตร็จไตรจักร

06 

ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรม ไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ

     ชื่อเรือ 2 ลำนี้สะท้อนถึงอิทธิพลคัมภีร์ปุราณะของอินเดียที่มีต่อคตินิยมและศิลปกรรมไทย ตามคัมภีร์ปุราณะครุฑเป็นเจ้าแห่งนกทั้งหลาย หรือเทพปักษิน ซึ่งผูกพันกับพระวิษณุ เพราะพระวิษณุทรงท่องไปในสวรรค์โดยมีครุฑเป็นพาหนะ กล่าวกันว่า ครุฑสามารถเปลี่ยนแปลงตนให้เป็นรูปร่างต่างๆ นานาและสามารถไปได้ในทุกหนแห่งตามปรารถนา ครุฑเป็นศัตรูกับนาคหรือบรรดางูทั้งหลาย เนื่องมาจากมารดาของทั้งสองฝ่ายวิวาทกัน ดังนั้นในศิลปกรรมของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา ครุฑจึงมักปรากฏในท่าที่ฉวยจับนาคไว้ ไม่ว่าจะเป็นนาคเพียงตัวเดียวหรือหลายตัว ไทยเราเรียกว่า ครุฑยุดนาค

     โขนเรือทั้งสองลำเป็นไม้จำหลักรูปครุฑจับนาค ๒ ตัวชูขึ้น ลงรักปิดทองประดับกระจก เรือครุฑเหินเห็จ ครุฑกายสีแดง ส่วน เรือครุฑเตร็จไตรจักร ครุฑกายสีชมพู

     เรือ 2 ลำนี้สร้างครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  (พุทธศักราช 2325 - 2352) แต่ชื่อเรือครุฑเหินเห็จ ใช้ชื่อว่า เรือครุฑเหิรระเห็จ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดจากอากาศยานที่ถล่มกรุงเทพมหานครสร้างความเสียหายให้กับเรือพระราชพิธีทั้ง 2 ลำนี้มาก ดังนั้นในพุทธศักราช 2508 กองทัพเรือและกรมศิลปากรจึงร่วมกันบูรณะเรือสองลำนี้ใหม่โดยใช้หัวเรือเดิมมาประกอบ

     เรือแต่ละลำมีความยาว 28.58 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 56 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วยฝีพาย 34 คน นายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนกระทุ้งเส้า (ให้จังหวะ) 2 คน

 

     The names of these two barges Khrut Hoen Het, literally, Garuda flies through the air and Khrut Tret Trai Chak, literally, Garuda wanders around three worlds reflect the impact of the Indian Purāṇās on Thai tradition and art. According to some Purāṇās, Garuda is a divine bird, associated with the god Viṣṇu. The god rides through the heavens, mounted on him. It is said that Garuda can assume any form, and go wherever he wants. Garuda is the chief of all the birds and an enemy of Nāgas (serpents) because of their mothers’ conflict. Thus, he always appears in Hindu and Buddhist sculptures in the manner of holding one or several Nāgas as he flies through the air, either in his beak or in one of his hands or both hands. When he holds the Nāga (s) in his hands the Thai term for this attitude is khrut yut nak (literally, Garuda holding Nāga).    

     The figurehead of the first barge features a Garuda holding two Nāgas, carved, gilded and
mirrored glass decoration with a red body.

     The figurehead of the second barge features a Garuda holding two Nāgas, carved, gilded and
mirrored glass decoration with a pink body.

     The two barges were originally built in the reign of King Rama I (reigned 1782 – 1809) and the first barge was named Khrut Hoen Rahet. They were damaged by bombs during World War II. They were rebuilt using the old figureheads by the Fine Arts Department and the Royal Thai Navy in 1967.

     The length of each barge is 28.58 meters and the width at the beam 2.10 meters. The depth of the hull is 56 centimeters. Each barge is manned by thirty-four oarsmen with two steersmen, one officer, one standard bearer, one signalman and two station markers.