เรือทองขวานฟ้า และ เรือทองบ้าบิ่น

11

ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า

 

ชื่อ ทองขวานฟ้า แปลว่า ขวาน (ทำด้วย) ทอง ตกมาจากท้องฟ้า คนไทยโบราณมักเรียกขวานหินขัดสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบอยู่ในแหล่งต่างๆ ว่า ขวานฟ้า เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำขึ้นเอง แต่ตกลงมาจากท้องฟ้า อันที่จริง ชื่อทองขวานฟ้า น่าจะเพี้ยนมาจาก ทองแขวนฟ้าแปลว่า ทองที่ห้อยย้อยลงมาจากท้องฟ้า เรือทองแขวนฟ้าเป็นชื่อเรือคู่หนึ่งที่ปรากฏในกระบวนเรือฯ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช 2199 - 2231) และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พุทธศักราช 2325 - 2352) เป็นไปได้ว่า ในสมัยต่อมาเรือชื่อทองแขวนฟ้าลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็น ทองขวานฟ้า
และอีกลำหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นทองบ้าบิ่น

เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือดั้งทาน้ำมัน ยอดดั้งปิดทองแกะสลักลวดลาย เป็นเรือคู่หน้าสุดที่นำกระบวนเรือพยุหยาตราชลมารคทั้งหมด เรือแต่ละลำมีความยาว 32.08 เมตร กว้าง 1.88 เมตร ลึกถึงท้องเรือ 64 เซนติเมตร มีกำลังพลประกอบด้วย ฝีพาย 39 คนนายเรือ 1 คน นายท้าย 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน
พลสัญญาณ 1 คน

 

The meaning of the name of the barge Thong Khwan Fa is the golden sky-axe and of the barge Thong Ba Bin the golden audacious one. The barge’s name Thong Khwan Fa probably is a corruption of Thong Khwaen Fa, literally, the golden thing hanging from the sky, which are twin barges in the royal barge procession of King Narai the Great (reigned 1656 – 1688) of the Ayutthaya Kingdom and of King Rama I (reigned 1782 – 1809) of the Chakri Dynasty. It is possible that a Thong Khwaen Fa has been replacedby the new name Thong Ba Bin in later period.

These barges are oil-lacquered barges with a gilded lacquered rising prow. They are the leading barges in the royal barge procession. Each barge has the length of 32.08 meters with a width of 1.88 metres at the beam and depth of 64 centimeters. It is manned by thirty-nine oarsmen with two steersmen,
one officers and one signalman.