เสี่ยหนา หรือ ปิ่นโตจีน

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง on . Posted in โบราณวัตถุที่สำคัญ

b 01
icon360icon zoom

ชื่อโบราณวัตถุ :
เสี่ยหนา หรือ ปิ่นโตจีน
แบบศิลปะ :
รัตนโกสินทร์
ชนิด : 
ไม้ไผ่ และโลหะ
ขนาด :
สูง 40 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 27 เซนติเมตร
อายุสมัย :
รัตนโกสินทร์
สภาพ :
ชำรุดชั้นล่างสุด
ลักษณะ :
ปิ่นโตจีนมี 3 ชั้น พร้อมฝาสานด้วยไม้ไผ่ ชั้นบนสุดเป็นลายโปร่งมีลายสีทองรูปดอกไม้และนก ที่ด้ามจับมีห่วงโลหะไว้สำหรับใส่คาน
ประวัติ :
นางวรณี ตัณฑวณิช ราษฎรบ้านเลขที่ 14 ถนนชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มอบให้ศูนย์วัฒนธรรมภูเก็ตในนาม นายอยู่จั๋ว ตัณฑวณิช(บิดา) และนางยกอิ่น ตัณฑวณิช(มารดา) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง รับมาจากศูนย์วัฒนธรรมเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
ความสำคัญ :
     เสี่ยหนา คือ ปิ่นโตหรือตะกร้าซึ่งเป็นเครื่องใช้ของชาวจีน คำว่า “เสี่ยหนา” เป็นภาษาจีนฮกเกี้ยน แปลว่า “มงคล” เสี่ยหนาจึงเป็นของใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ อาทิ งานแต่งงาน เสี่ยหนาของชาวจีนฮกเกี้ยนมีเอกลักษณ์ คือ ทำจากไม้ไผ่สานลงรักสีดำ แดง และปิดทอง รูปทรงของเสี่ยหนามี 2 รูปทรง คือ ทรงกระบอกส่วนฐานและฝาแบนเรียบ และทรงรีส่วนฐานและฝาโค้ง บนตัวของเสี่ยหนาจะมีการตกแต่งด้วยลวดลายต่างๆ อาทิ เทพจีน สัตว์ ดอกไม้ และต้นไม้ เป็นต้น ขนาดของเสี่ยหนามีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนชั้นพบมี 1 ชั้น 3 ชั้น และ 7 ชั้น
     “เสี่ยหนา” เป็นของใช้ที่สำคัญในพิธีแต่งงานของชาวจีนฮกเกี้ยน โดยถูกใช้ในขั้นตอนการหมั้นซึ่งญาติฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำของหมั้น อาทิ แหวน และขนมมงคลต่างๆ ใส่ลงในเสี่ยหนาและมอบให้ญาติฝ่ายเจ้าสาว ซึ่งในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีชาวจีนฮกเกี้ยนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ชาวจีนเหล่านี้ได้เข้ามาแต่งงานกับคนพื้นเมืองและได้นำ “เสี่ยหนา” เข้ามาใช้ในพิธีหมั้นด้วย ในปัจจุบันชาวภูเก็ตได้ประยุกต์การงานเสี่ยหนา โดยนำเสี่ยหนาที่มีขนาดเล็กมาใช้แทนกระเป๋าถือเมื่อสวมใส่ชุดพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า “ชุดยาย๋า”  
     “เสี่ยหนา” ถือเป็นเครื่องใช้ที่สำคัญของชาวจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต จึงถือเป็นศิลปวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงประเพณีของชาวจีนในภูเก็ตได้เป็นอย่างดี    
สถานที่จัดแสดง :
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง

 m c01icon360 2

z c01icon zoom 2

01

"04”

"07”