การจัดแสดง

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป on . Posted in Uncategorised

การจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

นิทรรศการถาวร

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดแสดงผลงานศิลปะทั้งแบบประเพณีและผลงานร่วมสมัย นำเสนอให้เห็นวิวัฒนาการของผลงาน
สร้างสรรค์ทางทัศนศิลป์ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน เป็นผลงานที่สำคัญและทรงคุณค่าต่อวงการศิลปะในประเทศไทย
          จิตรกรรมไทยประเพณีมีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้รับการยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งอดีต จนกลาย
เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาสอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดี ตลอดจน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่
          จิตรกรรมไทยประเพณีระยะแรกตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา คงวาดประดับผนังอาคาร ศาสนสถาน (สันติ 2544 : 101) ต่อมาจึงได้เริ่มวาดลงบนวัสดุอื่น เช่น บนผืนผ้าหรือที่เรียกว่าพระบฏ และบนกระดาษคือจิตรกรรมสมุดไทยหรือสมุดข่อย แนวทางการแสดงออกของจิตรกรรมไทย
ประเพณี เป็นแบบอุดมคติ เขียนในแนวระนาบสองมิติ เน้นการตัดเส้นรอบนอกรูปทรงคมชัดและตัดเส้นรายละเอียดภายใน นิยมใช้สีวรรณะ
เอกรงค์ (Monochrome) จำกัดเพียงสีแดง ดำ ขาว เหลือง หรือ สีทอง ซึ่งล้วนได้จากธรรมชาติ เช่นสีแดงได้จากดิน สีดำจากเขม่าหรือถ่าน สีทองได้จากทองคำเปลว เป็นต้น (ศิลป์ 2545 : 113 - 117, สันติ 2544 : 179)
          อนึ่งการเขียนภาพหรือลวดลายสีทองปนพื้นสีดำประดับตู้ไม้สำหรับเก็บคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาพสองมิติ อนุโลมว่าอยู่ในประเภทงานจิตรกรรมด้วยเช่นกัน (สันติ 2544 : 166)
          ในสมัยรัตนโกสินทร์ความสืบเนื่องของศิลปกรรมแนวอุดมคติได้เปลี่ยนไปเนื่องมากจาก ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเจริญทาง
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์และการเปิดรับความรู้ทางศิลปวิทยาการจากต่างประเทศโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ประเทศตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ.2394 - 2411) คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการ
แสดงออกของจิตรกรรมไทยประเพณี จากแนวอุดมคติมาเป็นแบบสมจริง โดยนำเทคนิคและวิธีการของตะวันตกมาใช้เช่นกฎเกณฑ์ทัศนียวิทยา
(Perspective) เพื่อสร้างความลึกลวงตาเป็นสามมิติในภาพเขียนเช่นเดียวกับที่พบเห็นในธรรมชาติ (อภินันท์ 2537 : 2 : 9) ทั้งนี้ไม่รวมจำนวนสีที่ใช้เพิ่มขึ้นโดยเป็นสีที่ได้จากกรรมวีธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความคงทน และความสะดวกในการใช้งานในส่วนของเนื้อหาเรื่องราวในภาพมิได้มุ่ง
เน้นเพียงเรื่องทางพุทธศาสนาอีกต่อไปเหตุการณ์ในพงศวดาร ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภาพวิถีชีวิตประจำวันถูกยกระดับให้เป็นเนื้อหาหลักในภาพ
          จิตรกรรมแนวตะวันตกทั้งรูปแบบและกรรมวี แต่วาดเรื่องราวอุดมคติของไทย เช่น เรื่องชาดก เป็นงานบุกเบิกโดย ขรัวอินโข่ง จิตรกรเรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (ไม่ปรากฎปีที่เกิดและเสียชีวิต) (วิยะดา 2522 : 13 - 14) และสมเด็จพระบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานิริศรานุวัติวงศ์ (พ.ศ.๒๔๐๖-๒๔๙๐) นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่าน เป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญ
สำหรับช่างรุ่นต่อมาจนถึงช่วงแห่งการเรียนรู้งานช่าง ตามทฎษฎีและวีธีการแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษาของไทย
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page12-13)

room1

1. ห้องเฉลิมพระเกียรติ :

          จิตรกรรมภาพฝีพระหัตถ์ จัดแสดงภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของพระมหากษัตริย์ไทยสองพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เพื่อให้ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ มีโอกาสได้ชื่นชมในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์

room2

2. ห้องจิตรกรรมไทยประเพณี

          จัดแสดงจิตรกรรมไทยประเพณีซึ่งเป็นจิตรกรรมที่มีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนกลายเป็น
ระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาที่สอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดีและวีถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัย
ก่อน นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงภาพจิตรกรรมของ ขรัวอินโข่ง จิตรกร ผู้เรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่านเน้นการนำเรื่องราวอุดมคติของไทยมาวาดผสมผสานกับเทคนิคแบบตะวันตก ซึ่งเป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญสำหรับช่างไทยในอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
           จิตรกรรมไทยประเพณีมีวิธีการสร้างสรรค์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะได้รับการยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่ครั้งอดีต จนกลาย
เป็นระเบียบแบบแผน โดยมีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาสอดแทรกด้วยเรื่องราวในวรรณคดี ตลอดจน วิถีชีวิต ความเป็นอยู่
           จิตรกรรมไทยประเพณีระยะแรกตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นต้นมา คงวาดประดับผนังอาคาร ศาสนสถาน (สันติ 2544 : 101) ต่อมาจึงได้เริ่ม
วาดลงบนวัสดุอื่น เช่น บนผืนผ้าหรือที่เรียกว่าพระบฏ และบนกระดาษคือจิตรกรรมสมุดไทยหรือสมุดข่อย แนวทางการแสดงออกของจิตรกรรมไทย
ประเพณี เป็นแบบอุดมคติ เขียนในแนวระนาบสองมิติ เน้นการตัดเส้นรอบนอกรูปทรงคมชัดและตัดเส้นรายละเอียดภายใน นิยมใช้สีวรรณะ
เอกรงค์ (Monochrome) จำกัดเพียงสีแดง ดำ ขาว เหลือง หรือ สีทอง ซึ่งล้วนได้จากธรรมชาติ เช่นสีแดงได้จากดิน สีดำจากเขม่าหรือถ่าน สีทองได้จากทองคำเปลว เป็นต้น ( ศิลป์ 2545 : 113 - 117, สันติ 2544 : 179)
           อนึ่งการเขียนภาพหรือลวดลายสีทองปนพื้นสีดำประดับตู้ไม้สำหรับเก็บคัมภีร์ทางพุทธศาสนาเป็นภาพสองมิติ อนุโลมว่าอยู่ในประเภทงาน
จิตรกรรมด้วยเช่นกัน(สันติ 2544 : 166)
          ในสมัยรัตนโกสินทร์ความสืบเนื่องของศิลปกรรมแนวอุดมคติได้เปลี่ยนไปเนื่องมากจาก ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเจริญทาง
เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสัมพันธ์และการเปิดรับความรู้ทางศิลปวิทยาการจากต่างประเทศโดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง ประเทศตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ.2394 - 2411) คือปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการ
แสดงออกของจิตรกรรมไทยประเพณี จากแนวอุดมคติมาเป็นแบบสมจริง โดยนำเทคนิคและวิธีการของตะวันตกมาใช้เช่นกฎเกณฑ์ทัศนียวิทยา
(Perspective) เพื่อสร้างความลึกลวงตาเป็นสามมิติในภาพเขียนเช่นเดียวกับที่พบเห็นในธรรมชาติ (อภินันท์ 2537 : 2 : 9) ทั้งนี้ไม่รวมจำนวนสีที่ใช้เพิ่มขึ้นโดยเป็นสีที่ได้จากกรรมวีธีทางวิทยาศาสตร์ เพื่อความคงทน และความสะดวกในการใช้งานในส่วนของเนื้อหาเรื่องราวในภาพมิได้มุ่งเน้นเพียงเรื่องทางพุทธศาสนาอีกต่อไปเหตุการณ์ในพงศวดาร ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ภาพวิถีชีวิตประจำวันถูกยกระดับให้เป็นเนื้อหาหลักในภาพ
          จิตรกรรมแนวตะวันตกทั้งรูปแบบและกรรมวี แต่วาดเรื่องราวอุดมคติของไทย เช่น เรื่องชาดก เป็นงานบุกเบิกโดย ขรัวอินโข่ง จิตรกรเรืองนามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ (ไม่ปรากฎปีที่เกิดและเสียชีวิต) (วิยะดา 2522 : 13 - 14) และสมเด็จพระบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานิริศรานุวัติวงศ์ (พ.ศ.๒๔๐๖-๒๔๙๐) นายช่างเอกแห่งกรุงสยาม ผลงานของบรมครูทั้งสองท่าน เป็นเสมือนต้นแบบและแนวทางสำคัญ
สำหรับช่างรุ่นต่อมาจนถึงช่วงแห่งการเรียนรู้งานช่าง ตามทฎษฎีและวีธีการแบบตะวันตกอย่างเป็นระบบในสถาบันการศึกษาของไทย
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page12-13)

room3

3. ห้องจิตรกรรมแบบตะวันตก

          จัดแสดงภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมผสานกับรูปแบบจิตรกรรมตะวันตก เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยเปิดรับวิทยาการ
จากประเทศตะวันตกมาพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า หากแต่ยังคงรักษาความเป็นไทยเอาไว้ ในช่วงเวลานี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า
อยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปถึงสองครั้งในปี พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2449 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีและศึกษาความเจริญทางศิลปวิทยาการของ
ประเทศเหล่านั้น
          ขณะที่จิตกรรมไทยผสมรูปแบบตะวันตกได้รับความนิยมและประสบความสำเร็จมนระดับหนึ่ง ศิลปินหลายท่านได้สร้างสรรค์ผลงานที่มี
เนื้อหาเรื่องราวที่เป็นความนิยมแบบตะวันตกแท้ๆ ควบคู่กันไป เช่น การวาดภาพเหมือนบุคคลทั้งภาพเดี่ยวและภาพกลุ่ม ภาพทิวทัศน์ที่เน้นความ
ยิ่งใหญ่และความงดงามของธรรมชาติ รวมทั้งภาพหุ่นนิ่ง (Still life) ซึ่งแสดงฝีมือของศิลปินในการจัดวางภาพและเก็บรายละเอียดของสิ่งต่างๆ
          ความนิยมในการใช้สีน้ำมันเพิ่มมากขึ้น เพราะใช้งานง่าย ให้อิสระในการวาดมากกว่าสีฝุ่น ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับการใช้ผ้าใบแทนการ
วาดลงบนแผ่นไม้หรือผืนผ้าดิบ
          ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นอกเหนือจากการรับวิทยาการตะวันตกแล้วยังเนื่องมาจากพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์
ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนให้สร้างงานศิลปะภาพเหมือนบุคคลขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้พระองค์เองและ
พระบรมวงศานุวงศ์ ประทับเป็นแบบให้ศิลปินวาดภาพ เป็นการลบล้างความเชื่องมงายของไทย ที่ว่าหากกระทำเช่นนั้น จะส่งผลในทางลบแก่
บุคคลผู้เป็นแบบ (อภินันท์ 2537 : 1 : 18-21) พระราชนิยมดังกล่าวคงเป็นส่วนหนึ่งของพระราโชบายในการพัฒนาประเทศให้เป็นอารยะ ตาม    
          แนวคิดเชิงเหตุผลแบบวิทยาศาสตร์ การสร้างสยามให้เป็นอารยะตลอดจนการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจตะวันตก ที่เป็น
พันธมิตร เช่น รัสเซีย เหตุผลเพื่อถ่วง ดุลอำนาจและบรรเทาความเสียหายของชาติอันเกิดจาก ลัทธิล่าอาณานิคมของชาวยุโรป โดยเฉพาะจาก
อังกฤษและฝรั่งเศล คือ นดยบายหลักด้าน การต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
(จุลจักรพงษ์ 2551 : 220 - 240 ,บังอร 2537 : 281 - 288)
          วิธีดำเนินการวิธีหนึ่งคือ การเสด็จประพาสยุโรปสองครั้งในปี พ.ศ.2440 และ พ.ศ.2449 เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีและศึกษาความเจริญทาง
ศิลปวิทยาการของประเทศเหล่านั้น ในการนี้ทรงนำช่างฝีมือชาวไทยตามเสด็จ ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ได้เห็นและคุ้นเคยกับผลงานและการสร้าง สรรค์แบบตะวันตก(อภินันท์ 2537 : 1 : 226 - 227) นอกจากนี้การจ้างชาวต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาทำงานในราชสำนัก ตลอดจนการส่งช่างฝีมือชาวไทยไปศึกษาศิลปะ ณ ประเทศยุโรป ยังผลมห้การสร้างสรรค์ศิลปกรรมแบบตะวันตกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีคุณภาพสูงทัดเทียมกับต่างประเทศ แนวความคิดในการพัฒนาประเทศด้วยวัฒนธรรมตะวันตกแต่ยังรักษาความเป็นไทยไว้ เป้นผลพวงจากอิทธิพลของ
ลัทธิชาตินิยมที่ชนชั้นปกครองของไทยได้รับจากการไปศึกษายังต่างประเทศ (วิไลเลขา 2545 : 139 - 140)
          แนวคิดดังกล่าวได้รับการปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากการปรับปรุงประเศในหลายๆ
ด้านกล่าวเฉพาะด้านศิลปกรรม ได้มีการตั้งกรมศิลปากรขึ้น
          ในปี พ.ศ.2455 “เพื่อทำนุบำรุงและพัฒนาศิลปะและงานฝีมือของประเทศ” (พิริยะ และคณะ 2525 : 25) และจัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้นใน
พ.ศ.2456 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่การเรียนศิลปะอย่างเป็นระบบสู่สาธารณชน พร้อมกับฝึกหัดช่างรุ่นใหม่ที่เชี่ยวชาญทั้งศิลปะไทยประเพณีและศิลปะตะวันตก (อำนาจ 2524 : 50 - 56) ในปี พ.ศ.2466 รัฐบาลไทยได้ว่าจ้างศิลปินชาวอิตลี ซึ่งมีคุณวุฒิถึงระดับศาสตราจารย์ชื่อ นายคอร์รา โด เฟโรจี (Corrado Feroci) เข้ามารับราชการ ตำแหน่งช่างแน สังกัดกรมศิลปากร (ศิลป์ พีระศรี 2545 : 9 - 10) ปรากฏว่าในเวลาต่อมาบุคคลผู้ นี้มีส่วนสำคัญในการผลักดันวงการศิลปะของชาติให้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่อย่างแท้จริง
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page 22)          

room4

4. ห้องประติมากรรม

          จัดแสดงผลงานประติมากรรมในยุคของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชาธิปไตยในปี
พ.ศ.2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการสนับสนุนและอุปถัมภ์ศิลปกรรมแขนงต่างๆ แทนราชสำนัก และเป็นช่วงที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้ก่อตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (มหาวิทยาลัยศิลปากร)  และเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ จนได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

ศิลปกรรมไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ.2510

          การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบบประชิปไตนในปี พ.ศ.2475 ส่งผลให้รัฐบาลมีบทบาทในการ
สนับสนุนและอุปถัมถ์ศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ แทนราชสำนัก ปีพ.ศ.2476 กรมศิลปากรได้จัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้น เพื่อฝึกสอนการเขียนภาพและปุ้นรูปตามแบบยุดรป ภายใต้การอำนวยการของ ศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรจี ซึ่งต่อมาได้โอนสัญชาติเป็นคนไทยและเปลี่ยนชื่อเป็น
ศิลป์พีระศรี (ศิลป์ 2524 : 17)
          หลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนประณีตศิลปกรรม (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป้นโรงเรียนศิลปากร) เป็นหลักสูตรเดียวกันกับราชวิทยาลัยศิลปะแห่ง
เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี (Royal Academy of Fine Arts) ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์เคยศึกษามาก่อน (วิบูลย์ 2542 : ก : 76 - 77) นักเรียนที่จบ
การศึกษาจึงมีฝีมือสูง “ในการใช้ศิลปกรรม เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชาติไทยยุคใหม่” (สุธี 2545 : 49) จึงยกระดับโรงเรียนประณีตศิลปกรรม
เป็น “มหาวิทยาลัยศิลปากร” เมื่อปี พ.ศ.2486 (ศิลป์ 2545 : 15)
          กว่าหกทศวรรษที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะ ออกเผยแพร่ความรู้สู่สังคมเป็นจำนวนมากและ
เป็นหน่วยงานหลักที่ริเริ่มจัดงานแสดงศิลปกรรมปห่งชาติใน พ.ศ.๒๔๙๒ โดยจัดติดต่อกันมาทุกปี จุดประสค์เพื่อเป็นเวทีในการแสดงออกของศิลปิน ไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่จบการศึกษาจากความเคลื่อนไหวในทางสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ
(อำนาจ 2524 : 113 - 11)
          การเสียชีวิตของศาสตราจารย์สิลป์ พีระศรี ในปี พ.ศ.๒๔๐๕ อาจถือเป็นสัญลักษณ์ของการลดบทบาทอันเข้มข้นของศิลปะตามหลักวิชาการ
ตะวันตกลง พร้อมไปกับการเคลื่อนไหวของกลุ่มศิลปินหัวก้าวในการทำงานศิลปะสมัยใหม่ซึ่งเริ่มเด่นชัดขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2505 - 2506 เป็น
ต้อนไป (วิรุณ 2534 : 143 - 144)
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป, (Guide to The National Gallery, Bangkok, Page 34)

room5

นิทรรศการหมุนเวียน

          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  จัดนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี  เดือนละ  2 - 4 นิทรรศการ  ผลงานที่นำมาจัดแสดงเป็นผลงานทัศน
ศิลป์ทุกประเภทที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการศิลปะ เป็นผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับชาติ ทั้งชาวไทย
และชาวต่างประเทศ
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok) 

หน่วยงาน

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป on . Posted in Uncategorised

 

อาคารด้านหน้า

อาคารกิจกรรม

บริเวณภายในพิพิธภัณฑ์

         กรมศิลปากรได้รับมอบอาคารโรงกษาปณ์เดิม ที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากกรมธนารักษ์ กระทรวง
การคลัง เมื่อปี พ.ศ. 2517 เพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เป็นสถานศึกษา จัดแสดง รวบรวม และสงวนรักษางานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ ทั้งแบบไทยประเพณีและแบบร่วมสมัย รวมทั้งให้เป็นสถาบันศิลปะชั้นนำของประเทศ โดยได้ทำการปรับปรุงอาคารโรงกษาปณ์เดิมซึ่งมีรูปแบบของสถาปัตยกรรมตะวันตกที่มีความสวยงามโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งในบรรดาอาคารที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอาคารจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์
          พิพิธภัณฑ์ฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินินาถ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์แระธานในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2520 จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นองค์อุปถัมภกและทรงสนับสนุนส่งเสริมงานด้านศิลปกรรมไทยทุกแขนง กรมศิลปากรจึงถือโอกาสในปีอันเป็นมหามงคลครบรอบ 72 พรรษาของพระองค์และเป็นปีที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ได้ก่อตั้งมาครบรอบ 27 ปี
ดำเนินการจัดพิมพ์หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าว และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานศิลปกรรมประเภททัศนศิลป์ในประเทศไทย ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ที่สนใจต่อไป

อาคารจัดแสดง

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป on . Posted in Uncategorised

p02

0.2โรงกษาปณ์สิทธิการ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสถานที่ผลิตเงินเหรียญแห่งใหม่ที่มีความทันสมัย โดยเลือกพื้นที่บริเวณริมคลองคูเมืองเดิม ใกล้วัดชนะสงคราม ซึ่งสถานที่ตั้ง  พระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้า (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล) มาแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดให้รื้อถอนพระตำหนักของเจ้านายฝ่ายวังหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ และพระราชทานเงินค่ารื้อถอนและสร้างวังใหม่ให้แก่เจ้านายทุกพระองค์ เมื่อแล้วเสร็จได้รับพระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ”
โรงกษาปณ์สิทธิการ มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri)  สถาปนิกชาวอิตาเลียนประจำราชสำนักสยาม ได้แรงบันดาลใจมาจากโรงงานเครื่องจักรที่เมืองเบอร์มิ่งแฮม ประเทศอังกฤษ อาคารหลักด้านหน้าเป็นทรงปั้นหยา สูงสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องว่าว สองข้างอาคารหลักเป็นอาคารชั้นเดียวต่อเป็นปีกทอดยาวหักมุมฉากสี่ด้านบรรจบกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเชื่อมต่อกัน บริเวณสันหลังคา เชิงชาย ช่องบานประตู หน้าต่างประดับด้วยลวดลายฉลุไม้อย่างงดงาม การก่อสร้างโรงงานกษาปณ์สิทธิการเสร็จสมบูรณ์และเริ่มดำเนินการผลิตเหรียญครั้งแรกในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2445  ใช้งานเรื่อยมาจนถึงปี 2511 กรมธนารักษ์จึงได้ย้ายไปสร้างโรงงานแห่งใหม่ ต่อมากรมศิลปากรได้ทำบูรณะและประกาศขึ้นทะเบียนโรงกษาปณ์สิทธิการเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อ 22 สิงหาคม 2521 **(ราชกิจจานุเบกษา)

อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป  (Guide to The National Gallery, Bangkok)

การบริการ

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป on . Posted in Uncategorised

photo1

ทางเข้าด้านหน้าอาคารนิทรรศการ

photo4

ส่วนจำหน่ายบัตรและฝากของ

 

ส่วนจำหน่ายหนังสือและของที่ระลึก

วันและเวลาทำการ
เปิด : วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.
ปิด : วันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียมเข้าชม
 บัตรปลีก  คนไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 200 บาท
บัตรรวม คนไทย 60 บาท ชาวต่างประเทศ 350 บาท
** บัตรรวมสามารเข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์
นักเรียน นักศึกษาในเครื่องแบบ พระภิกษุ สามเณร ยกเว้นค่าเข้าชม

ประวัติความเป็นมา

เขียนโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป on . Posted in Uncategorised

text nationalgallery 01

เนื่องจากกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร (เมื่อแรกก่อตั้งนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร) ได้จัดการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยอาศัยกระทรวงคมนาคมเก่า (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงละครแห่งชาติ) เป็นสถานที่จัดแสดงงาน แต่ไม่มีสถานที่เก็บรักษารวบรวมผลงานที่ชนะการประกวดหรือได้รับรางวัล ต่อมาได้มีเอกชนตื่นตัวดำเนินการเปิดหอศิลปแสดงภาพขึ้นเองหลายแห่ง เช่น สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียนที่สะพานหัวช้าง เริ่มเปิดประกวดและแสดงภาพเขียนในปี พ.ศ. 2503 ศูนย์ศิลปะกรุงเทพที่มักกะสันและวังสวนผักกาด เปิดแสดงภาพใน พ.ศ. 2504 และต่อมา มีหอศิลปบ้านเมฆพยับและหอศิลป พีระศรี ที่ซอยอรรถการประสิทธิ์ ถนนสาธรใต้ ซึ่งหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ บริพัตร ทรงอุปการะและออกทุนทรัพย์สร้างขึ้น รวมทั้งสถาบันเกอเธ่ของเยอรมันที่ถนนพระอาทิตย์ ก็เปิดแสดงภาพเขียนมาก่อนนานแล้ว เป็นต้น

กรมศิลปากรโดยกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ มีความประสงค์จะตั้งหอศิลปขึ้นบ้าง เพราะยังไม่เคยมีเลย คงเพียงริเริ่มจัดแสดงไว้ 2 ห้องในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จึงได้พยายามหาสถานที่จัดตั้งหอศิลปแห่งชาติ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจากนายสวัสดิ์ อุทัยศรี อดีตอธิบดีกรมธนารักษ์ ที่เห็นความสำคัญของหอศิลปแห่งชาติ ยกโรงกษาปณ์เก่าที่เลิกร้างไปนานแล้วให้กรมศิลปากร โดยกรมธนารักษ์ได้กระทำพิธีมอบอาคารโรงกษาปณ์เก่าและที่ดินให้เฉพาะอาคารส่วนด้านหน้าให้แก่กรมศิลปากร เพื่อจัดตั้งหอศิลปแห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2517 เนื่องในโอกาสที่กรมศิลปากรจัดฉลอง 100 ปี "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในประเทศไทย" อันเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกิจการพิพิธภัณฑ์ไทย

เมื่อจัดตั้งขึ้นแล้ว กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจทำบัญชี เก็บรวบรวมภาพเขียนที่กระจัดกระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่ได้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เพราะได้ใช้อาคารหมู่พระวิมานในวังหน้าจำนวน 2 ห้อง ได้แก่ ห้องด้านหลัง (ห้องอุตราภิมุขและห้องริมระเบียง) จัดเป็นห้องแสดงภาพเขียนอยู่ก่อนแล้ว (ประมาณ พ.ศ. 2513 - 2517) ดังนั้น เมื่อจัดตั้งหอศิลปแห่งชาติขึ้น จึงได้ย้ายภาพเขียนเดิมทั้งหมดนั้นมาเป็นสมบัติของหอศิลปแห่งชาติ จึงถือว่าภาพชุดดังกล่าวเป็นภาพชุดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มาก
สมัยก่อนที่ยังไม่ได้สร้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ มีคลองหลอด (คลองคูเมืองเดิม) ไหลผ่านหน้าโรงกษาปณ์ การคมนาคมทางน้ำสะดวกอยู่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา นับเป็นทำเลที่ดีและสวยงาม พ่อค้านักธุรกิจบางลำภูต้องการสถานที่แห่งนี้ทำเป็นศูนย์การค้า เมื่อแรกก่อตั้งได้ใช้ชื่อว่า "หอศิลปแห่งชาติ" และได้กระทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งทรงดำรงพระยศสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการเปิดอาคารและนิทรรศการพิเศษ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2520 และต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป" ครั้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2526 กรมธนารักษ์ได้ยกอาคาร รวมทั้งที่ดินส่วนด้านหลังทั้งหมดให้ ทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป มีพื้นที่ประมาณ 4-3-56 ไร่ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมศิลปากรใหม่ พ.ศ. 2538 จึงได้กลับมาใช้ชื่อ "หอศิลปแห่งชาติ" อีกครั้ง

อาคารหลักของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถูกปรับปรุงและต่อเติมสำหรับการจัดแสดง และใช้เป็นส่วนปฏิบัติการอื่นๆ ปัจจุบันแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น

1. อาคารนิทรรศการถาวร (2 ชั้น) มีพื้นที่ทั้งหมด 930.5 ตารางเมตร
2. อาคารนิทรรศการหมุนเวียน (8 ห้อง) มีพื้นที่ทั้งหมด 1,410 ตารางเมตร
3. ห้องอเนกประสงค์ มีพื้นที่ทั้งหมด 475 ตารางเมตร
4. อาคารเรือนกระจก (2 ชั้น) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 500 ตารางเมตร
5. อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์ (2 ชั้น) มีพื้นที่ทั้งหมด 815 ตารางเมตร

โรงกษาปณ์สิทธิการ

อาคารโรงกษาปณ์เก่าหรือโรงกษาปณ์สิทธิการ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ในปัจจุบัน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพื้นที่ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล บริเวณริมคลองคูเมืองเดิมด้านทิศเหนือ ซึ่งเดิมเป็นวังที่ประทับของบรรดาเจ้านายหลายพระองค์ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างโรงกษาปณ์สำหรับผลิตเงินเหรียญขึ้นใช้เองภายในประเทศ และพระราชทานค่ารื้อถอนสำหรับสร้างวังใหม่แก่เจ้านายทุกพระองค์ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารและทรงเครื่องจักรผลิตเหรียญกษาปณ์ด้วยพระองค์เอง

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของโรงกษาปณ์สิทธิการเป็นศิลปะแบบตะวันตก สร้างตามแบบโรงงานเครื่องจักรที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาทรงจั่ว อาคารหลักด้านหน้าตรงกลางก่อเป็นมุข 2 ชั้น ชั้นล่างต่อเป็นปีกออกไปทั้งสองด้าน เป็นอาคารยาวชั้นเดียว หักมุมฉากและไปบรรจบกันตามแผนผังรูปสี่เหลี่ยม สามารถเดินติดต่อกันไปโดยตลอด เปิดเป็นลานโล่ง ตรงกลางอาคารทางปีกขวาเจาะเป็นช่องประตูโค้งสำหรับเป็นทางเข้าสู่ลานโล่งได้อีกทางหนึ่ง

การตกแต่งส่วนประกอบต่างๆ ทำให้อาคารแห่งนี้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้นคือ หน้าต่างวงโค้ง ลูกกรงบานเกล็ดโดยรอบอาคาร โดยเฉพาะหน้าต่างชั้นบนนั้น กรอบบานหน้าต่างโดยรอบตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นซุ้มวงโค้งและเสาหลอกแบบโรมัน ที่ผนังอาคารด้านนอกมีการเซาะร่องตื้นตามแนวขวาง เลียนแบบการก่อสร้างด้วยหิน ตามสันหลังคาและเชิงชายโดยรอบตกแต่งด้วยลายฉลุลูกไม้งดงาม รวมถึงที่พื้นผนังจั่วด้านหน้าประดับปูนปั้นนูนต่ำเป็นตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 ภายในวงโค้งล้อมด้วยลายพันธุ์พฤกษา

บันไดทางขึ้นด้านหน้าอาคารสู่ประตูโค้งใหญ่ตรงกลาง เหนือกรอบประตูประดับด้วยกระจกสี พื้นอาคารภายในชั้นล่างปูด้วยหินอ่อนมีลวดลาย ส่วนพื้นชั้นบนเป็นไม้สัก และที่วงโค้งเหนือกรอบประตูด้านในประดับลวดลายฉลุไม้อย่างงดงามเช่นกัน
อาคารโรงกษาปณ์เก่านี้จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีความโดดเด่นมากอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 98 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2521